วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปมติ ก.อบต.ปี2552

สรุป มติ ก.อบต. ที่สำคัญในปี 2552ครั้งที่ เรื่อง รายละเอียด
1/2552
วันที่ 19 ม.ค.52 เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข ก.อบต.ไม่กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพและตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาลได้รับเงิน พ.ต.ส. เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขก็มิได้กำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวได้รับเงิน พตส.
การโอนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งผู้บริหารที่มีวาระการดำรงตำแหน่ง
ครบ 4 ปี
1. การกำหนดให้พนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นั้น มีความเหมาะสมและจะเกิดประโยชน์ต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตลอดจนเป็นการเพิ่มพูนทักษะการบริหารงานให้แก่พนักงานส่วนตำบล เป็นนักบริหาร ที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญการยิ่งขึ้นต่อไป จึงให้มีการดำเนินตาม มาตรฐานทั่วไปและหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป
2. กรณี ก.อบต.จังหวัด ใด ประสบปัญหาในทางปฏิบัติให้พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
2.1 มาตรการการช่วยราชการ
ขอให้ ก.อบต.จังหวัด พิจารณาใช้มาตรการด้านการบริหารโดยเชิญ อบต. และผู้เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขภายใต้หลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลที่ ก.อบต.จังหวัด ได้กำหนดไว้แล้ว เช่น การให้ไปช่วยราชการ โดยการสับเปลี่ยนระหว่าง อบต. ที่ไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการวาระการดำรงตำแหน่งผู้บริหาร 4 ปี อันจะเป็นการทดลองการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อื่นเป็นการชั่วคราวและอาจนำไปสู่การดำเนินการตามมาตรการนี้ได้อย่างจริงจังขึ้นได้
2.2 มาตรการกรณีเหตุจำเป็น
ก.อบต.จังหวัด อาจพิจารณานำมาตรการกรณีที่มีความจำเป็นหรือเพื่อพัฒนาหรือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ตามประกาศ ก.อบต.จังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล มาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาการดำรงตำแหน่งบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลครบ 4 ปี ที่ไม่สามารถโอนไปองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นได้ตามควรแก่กรณีต่อไป
สำหรับการร้องขอให้ ก.อบต. มีมติให้โอนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหารไปต่างเขตจังหวัด นั้น พิจารณา
ได้ว่า การโอนออกนอกเขตจังหวัดจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อพนักงานส่วนตำบลผู้นั้นมากเกินความจำเป็น ดังนั้น การพิจารณาให้โอนไปนอกเขตจังหวัดนั้น จึงเป็นการไม่เหมาะสม
3. การต่ออายุนั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขความจำเป็นของทางราชการที่จำเป็นต้องให้บุคคลนั้นดำเนินการเป็นการเฉพาะรายที่ไม่อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ด้วยเหตุผลทางเทคนิคเฉพาะด้าน ห้ามมิให้อ้างเหตุที่เป็นผลสืบเนื่องจากภาระส่วนตัว ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการยกร่างหนังสือแจ้งซักซ้อมในประเด็นการต่ออายุให้ ก.อบต. พิจารณาในคราวต่อไป
4. การดำเนินการตามมาตรฐานทั่วไปและหลักเกณฑ์ดังกล่าว มีปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายที่อยู่ระหว่างการแก้ไขให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ดังนั้น จึงให้มีการวิเคราะห์ปัญหาด้านโครงสร้าง ปัญหาด้านพฤติกรรม และการปฏิบัติตามมาตรฐานทั่วไป เพื่อนำมาประกอบในการยกร่างแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านการบริหารงานบุคคลอย่างแท้จริง
5. ขอให้ฝ่ายเลขานุการพิจารณาประมวลปัญหาการบริหารงานบุคคลของ อบต.ที่ผ่านมา เช่น การทุจริตสอบแข่งขัน การทุจริตในการใช้บัญชี สิทธิสวัสดิการประโยชน์ตอบแทนอื่น ความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารท้องถิ่น และพนักงาน หรือระหว่างพนักงานด้วยกัน การดำเนินการทางวินัย มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม นำไปศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 หารือการปฏิบัติกรณีตำแหน่งบริหารว่างเกินกว่า 60 วัน โดยมิได้ดำเนินการสรรหา 1. ประเด็นบัญชีสอบคัดเลือกที่ใช้บรรจุใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นบัญชีหลักในการใช้แก้ไขตำแหน่งบริหารว่างหรือไม่ บัญชีการสอบคัดเลือกกรณีพิเศษเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหาร (บัญชีสอบคัดเลือกตำแหน่งบริหารที่ใช้บรรจุใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจัดสอบนั้น มิใช่บัญชีสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกได้ของ ก.อบต. ตามนัยข้อ 21 แห่งประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับและการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากบัญชีดังกล่าวจะต้องเป็นบัญชีที่อยู่ในประเภทและระดับเดียวกัน แต่บัญชีคัดเลือกตามข้อหารือเป็นบัญชีสอบคัดเลือกที่ ก.อบต. กำหนดให้จัดสอบขึ้นเป็นกรณีพิเศษที่ใช้บรรจุแต่งตั้งในพื้นที่เฉพาะ และกำหนดคุณสมบัติของผู้สอบคัดเลือกในระดับ 3-6 (นักบริหาร... 3-6) ที่มิได้กำหนดเฉพาะระดับ 6 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับตำแหน่งที่ว่าง รวมทั้งยังกำหนดให้บัญชีสอบคัดเลือกได้ กรณีพิเศษดังกล่าวต้องบรรจุตามลำดับที่และกำหนดระยะเวลาในการบรรจุแต่งตั้งในพื้นที่ชัดเจน จึงพิจารณา ได้ว่า บัญชีการสอบคัดเลือกกรณีพิเศษเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหาร มิใช่บัญชีสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกได้ของ ก.อบต. ตามข้อ 21 แห่งประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับและการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 11) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า อบต. มีตำแหน่งว่างและมิได้ขอใช้บัญชีดังกล่าว หากแต่ปล่อยล่วงเลยให้ตำแหน่งว่างเป็นระยะเวลานานแสดงให้เห็นถึงความไม่ตระหนักถึงความเสียหายจากการไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร จึงขอให้ ก.อบต.จังหวัดปัตตานี ได้กำชับและกำกับดูแลมิให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก
2. ประเด็น อบต. สามารถกำหนดตำแหน่งสายงานบริหารเป็นนักบริหารงาน ระดับ 3 -6 ไว้ ในแผนอัตรากำลังได้หรือไม่
ก.อบต. ได้กำหนดให้พนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหารเป็นสายงานเริ่มต้นจากระดับ 6 ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลจึงไม่สามารถกำหนดระดับตำแหน่งสายงานบริหารเป็นนักบริหาร...ระดับ 3-6 ไว้ในแผนอัตรากำลังได้ จะกำหนดได้ก็ต่อเมื่อได้ขอใช้บัญชีการสอบคัดเลือกกรณีพิเศษเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหาร (บัญชีสอบคัดเลือกตำแหน่งบริหารที่ใช้บรรจุใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) เท่านั้น เนื่องจาก ก.อบต. ได้กำหนดไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน
ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารที่ว่างในพื้นที่พิเศษเป็นการเฉพาะ
3. ประเด็นที่องค์การบริหารส่วนตำบลมีตำแหน่งบริหารที่ว่างเกินกว่า 150 วัน สามารถดำเนินการสรรหาใหม่ได้หรือไม่
กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลมีตำแหน่งปลัด อบต. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลังหรือตำแหน่งหัวหน้าส่วนอื่นว่าง โดยมิได้ดำเนินการสรรหาภายใน 60 วัน หรือดำเนินการสรรหาแล้วไม่สามารถสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งได้ภายใน 150 วัน ให้ถือว่าการดำเนินการที่แล้วมาเป็นอันยกเลิกองค์การบริหารส่วนตำบลจะสามารถดำเนินการสรรหาใหม่โดยวิธีโอน หรือคัดเลือกเพื่อรับโอนหรือคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับแล้วแต่กรณีขึ้นใหม่ได้ หาก ก.อบต. ไม่มีการขึ้นบัญชีตำแหน่งบริหารไว้ ตามหนังสือสำนักงาน ก.อบต. ที่ มท 0809.2/ว 77 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2551

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ
รายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากตามความในข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว กำหนดให้“เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐฯ และ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความรวมถึง อปท. ดังนั้น เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินตอบแทนพิเศษรายเดือนของ
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างของ อปท. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงเห็นควรแจ้งให้ อปท. ในพื้นที่ถือปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินดังกล่าวตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
1. กรณีข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างของ อปท. ในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนหรือเงิน สปพ. ในอัตรา 1,000 บาทต่อเดือน ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนเพิ่มเติมในอัตรา 1,500 บาทต่อเดือน
2. กรณีปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่เต็มเดือนซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป ให้ได้รับ
ค่าตอบแทนพิเศษรายเดือน ในอัตรา 2,500 บาทต่อเดือน และหากปฏิบัติงานในพื้นที่น้อยกว่า 15 วัน
ให้คำนวณเฉลี่ยตามสัดส่วนจำนวนวันที่ผู้นั้นไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของ อปท.ต้นสังกัด
3. การจ่ายเงินตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นรายการประโยชน์ตอบแทนอื่น จึงให้ อบต. ตรวจสอบภาระค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ด้วย กรณีจังหวัดสตูลให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งในหนังสือว่า มีสิทธิได้รับเงิน สปพ. หรือไม่ ให้ชัดเจนด้วย
หารือการขอกลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง หน.ส่วนโยธา อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 12 มกราคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า
ประเด็นแรก ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2551 ได้พิจารณาข้อหารือในลักษณะเดียวกันนี้แล้วมีมติ สรุปว่าการขอสมัครกลับเข้ารับราชการของพนักงานส่วนตำบล กรณีถูกลงโทษทางวินัยสามารถขอสมัครกลับเข้ารับราชการได้แต่ผู้ขอสมัครกลับเข้ารับราชการต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยความเห็นชอบของ ก.อบต.จังหวัด เป็นผู้พิจารณาสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าขั้นที่เคยได้รับอยู่เดิมก่อนออกจากราชการ สำหรับลักษณะความผิดหรือพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ก.อบต. มิได้กำหนดไว้ ดังนั้นการพิจารณากรณีดังกล่าวจึงเป็นดุลพินิจของ ก.อบต.จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไปโดยอาจพิจารณาตามหลักศีลธรรมอันดีที่วิญญูชนพึงปฏิบัติและความประพฤติปฏิบัติ
ที่บุคคลน่าเชื่อถือให้การรับรองตลอดจนพิจารณาจากเอกสารหลักฐานสำนวนการสอบสวนเมื่อครั้งบุคคล
ดังกล่าวกระทำความผิด
สำหรับประเด็นสุดท้าย เห็นว่าตำแหน่ง หน.ส่วนโยธา (จนท.บริหารงานช่าง ระดับ 3) ซึ่งเป็นตำแหน่งสายงานผู้บริหารที่ ก.ท. (เดิม) กำหนดใช้คุณวุฒิไม่ต่ำกว่า ปวส. เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง แต่ปัจจุบันได้มีการประกาศยกเลิกใช้มาตรฐานกำหนดตำแหน่งดังกล่าวไปเป็นสายงานตำแหน่งนักบริหารงานช่างที่เริ่มต้นจากระดับ 6 ซึ่งใช้วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งแล้ว ดังนั้น นายปพนธชัย หรือมานิต จึงไม่สามารถขอกลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง หน.ส่วนโยธา (นักบริหารงานช่าง 6) ได้ แต่อาจรับบรรจุแต่งตั้งมาให้ดำรงตำแหน่งนายช่างโยธา ระดับ 3 ได้

การขออนุมัติเปิดสอบแข่งขันพนักงานส่วนตำบลเป็นกรณีพิเศษ การที่ ก.อบต.จังหวัดนราธิวาส ยกเหตุว่าผู้สอบผ่านภาค ก. ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีจำนวนน้อยหากจะดำเนินการสอบภาค ข. และภาค ค. จะมีผู้มาสมัครจำนวนน้อย พิจารณาแล้วเห็นว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดการสอบแข่งขัน ภาค ก. ประจำปี 2549 และ 2551 มีผู้ผ่านการสอบรวมทั้งสิ้น 157,337 คน
จะเห็นได้ว่า ณ ปัจจุบันผู้ที่สอบผ่านภาค ก. มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ ก.อบต.จังหวัดนราธิวาส เห็นว่า ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในการปฏิบัติงาน ก็สามารถดำเนินการสอบภาค ข. และภาค ค. เพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานส่วนตำบล ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยไม่ขอต้องดำเนินการสอบภาค ก. ใหม่แต่อย่างใด
สำหรับข้ออ้างที่ว่าเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้สอบแข่งขันและปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนราธิวาสเพื่อป้องกันการโอน (ย้าย) ออกนอกเขตจังหวัด อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือรัฐบาลด้านมวลชนอีกทางหนึ่งนั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นกรณีที่ไม่ชัดเจนและมีเหตุผลไม่เพียงพอเพราะอาจเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลทั่วไปที่เป็นผู้สอบผ่านภาค ก. ไปแล้ว นอกจากนี้ ก.อบต.จังหวัดนราธิวาส ก็ยังมิได้ดำเนินการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันภาค ข. และภาค ค. จึงมิอาจคาดหมายเหตุการณ์หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ส่วนปัญหาที่มีพนักงานส่วนตำบลขอโอน (ย้าย) เป็นจำนวนมากนั้น ก.อบต.จังหวัดนราธิวาส ควรที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอโอนของพนักงาน
ส่วนตำบล โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทางราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญมากกว่า
เหตุผลส่วนบุคคล
นอกจากนี้แล้วตามหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของ ก.อบต.จังหวัดนราธิวาส ก็ได้ระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนย้ายของพนักงานส่วนตำบลที่บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันว่า ห้ามโอนย้ายภายใน 2 ปี เป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้ในประกาศรับสมัครสอบแข่งขันให้ผู้สมัครสอบแข่งขันได้ทราบเป็นการล่วงหน้าแล้ว จึงพิจารณาได้ว่าเหตุผลมีน้ำหนักไม่เพียงพอในการขอยกเว้นการปฏิบัติ
ตามที่ร้องขอได้
อย่างไรก็ดี หาก ก.อบต.จังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการสอบภาค ข. และภาค ค. แล้วปรากฏว่า ไม่สามารถบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบลเพื่อแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวได้ ก็ขอให้เสนอ ก.อบต. พิจารณาอีกครั้ง
แนวทางปฏิบัติการโอนย้ายพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งผู้บริหาร
ที่มีวาระการดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี
การกำหนดแนวทางการดำเนินการตามมาตรการ 4 ปี นั้น
มีข้อจำกัดในเรื่องข้อกฎหมายและผลกระทบต่อการบริหารงานในภาพรวม จึงขอให้นำปัญหานี้เสนอที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง โดยให้สำรวจข้อมูลก่อนว่าขณะนี้การดำเนินการในเรื่องนี้เป็นอย่างไร เพื่อจะได้พิจารณาวางมาตรการและแนวทางการดำเนินการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมต่อไป
ครั้งที่ 3/2552 วันที่ 23 มีนาคม 2552 เรื่อง เพื่อทราบ
การเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้
เนื่องจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว กำหนดให้“เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน”
หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐฯ ซึ่งได้รับคำสั่งจากทางราชการให้
ปฏิบัติงานประจำในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
องค์การมหาชน อปท. และหน่วยงานของรัฐทุกประเภท ประกอบกับมติ ก.บ.จ.ต.ดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ดังนั้น ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างของ
อปท. ผู้ปฏิบัติงานใน จ.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส 4 อำเภอของ จ.สงขลา (อ.จะนะ เทพา นาทวี และ
สะบ้าย้อย) และ จ.สตูล จึงมีสิทธิได้รับบำเหน็จความชอบดังกล่าว
การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมในแต่ละประเภท จำนวน 4 คณะ ดังนี้
1. (อ.ก.อบต.โครงสร้าง) จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
1.1 นายทรงพล ทิมาศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ อนุกรรมการ
1.2 นายเฉลิมพล รัตนวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ อนุกรรมการ
1.3 นายทวีป จูมั่น นายก อบต.หัวไผ่ อนุกรรมการ
1.4 นายเชียรินทร์ ปัทธมกุล ปลัด อบต.วัดโบสถ์ อนุกรรมการ
2. (อ.ก.อบต.วินัย) จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
2.1 นายทรงพล ทิมาศาสตร์ 2.2 นายเฉลิมพล รัตนวงศ์ 2.3 นายสมุทร มอหาหมัด นายก อบต.ยะลา 2.4 นานภัสกร สีเดน ปลัด อบต.หนองแวง 3. (อ.ก.อบต.กฎหมาย)จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
3.1 นายทรงพล ทิมาศาสตร์ 3.2 นายเฉลิมพล รัตนวงศ์
3.3 นายประกาศิต สุพรหมธีรกุล นายก อบต.หนองไฮ
3.4 นายมนูญวิวรรณ ปลัด อบต.นิคมพัฒนา 4. (อ.ก.อบต.เทียบการดำรงตำแหน่ง)
4.1 นายทรงพล ทิมาศาสตร์ 4.2 นายเฉลิมพล รัตนวงศ์
4.3 นายสมจิตร พุ่มเจริญ นายก อบต. หัวถนน 4.4 นายพัสกร ใยน้อย ปลัด อบต. บึงบอน
หารือพนักงานส่วนตำบลถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการจากต้นสังกัดเดิมภายหลังการบรรจุแต่งตั้ง ณ ต้นสังกัดใหม่ อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 12 มกราคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าว น.ส.อ . ครั้งดำรงตำแหน่งลูกจ้างประจำ สังกัด อบต.เทพารักษ์ ถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2550 โดย ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2549 แม้ปัจจุบัน น.ส.อ ฯ จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลตำแหน่ง จนท.ธุรการ ระดับ 1 ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.2549 ก็ตาม แต่เมื่อ น.ส.อฯ ถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการขณะดำรงตำแหน่งลูกจ้างประจำ ย่อมขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งพนักงานส่วนตำบล ตามข้อ 1 (13) ของประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับพนักงานส่วนตำบล ลงวันที่ 22 พ.ย.2544 ให้นายก อบต. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน ตามข้อ 16 ของประกาศก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้งฯ ลงวันที่ 22 พ.ย.2544
โดยการสั่งให้ออกจากราชการให้สั่งให้ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกจากราชการตามกรณีนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการทำให้เสียประโยชน์ตามสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งให้ออกนั้น
ดังนั้น เงินเดือนค่าตอบแทนทั้งหมดที่ น.ส.อฯ ได้รับไปในขณะดำรงตำแหน่ง จนท.ธุรการ ระดับ 1 ตั้งแต่
วันที่ 1 ม.ค.2549 จนถึงวันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะกรณีขาดคุณสมบัติทั่วไปฯ จึงไม่สามารถเรียกคืนได้
ตามข้อ 28 (3) และ (4) ของประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ ลงวันที่ 22 ส.ค.2544
หารือความหมายของคำว่า “เป็นคู่กรณี” และคำว่า “ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดร่วม” ตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 31 วรรคห้า และการพิจารณารายงานการสอบสวน ข้อ 31 วรรคหก อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 12 มกราคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า
1. คำว่า “เป็นคู่กรณี” อาจหมายถึง การมีพฤติกรรมหรือมีเหตุการณ์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอันมีสภาพร้ายแรงจนอาจเป็นเหตุให้การพิจารณาเสียความเป็นธรรมก็ได้ โดย ก.อบต.จังหวัดต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป
2. การ “เป็นคู่กรณี” ตามข้อ 1 หรือ “ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดร่วม” ให้ถือเฉพาะตัวบุคคล ระหว่าง ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกับผู้ถูกสอบสวน
3. การพิจารณารายงานการสอบสวน (สว.6) อันเนื่องมาจากข้อ 31 วรรคห้า ให้คณะ กรรมการสอบสวนรายงานผลการสอบสวนให้ ก.อบต.จังหวัด พิจารณา เมื่อ ก.อบต.จังหวัดมีมติเป็นประการใดให้นายก อบต.สั่งหรือปฏิบัติไปตามนั้น ตามนัยข้อ 31 วรรคหกเห็นชอบตามเสนอ สำหรับข้อที่ 1
คำว่า “เป็นคู่กรณี อาจหมายถึง ...” แก้ไขเป็น คำว่า ”คู่กรณี” ให้หมายรวมถึง ...”

หารือปลัด อบต. ปฏิบัติหน้าที่นายก อบต. ออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบวินัย อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 12 มกราคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเมื่อ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 3 (จว.นครปฐม) ชี้มูลความผิดของนายทักฯ ปลัด อบต.กับพวก ว่าไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายย่อมทำให้ นายทักฯ ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดร่วมกับพนักงานส่วนตำบลคนอื่น นายทักฯ จึงไม่อาจออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตนเองได้ แม้จะเป็นการออกคำสั่งในฐานะปฏิบัติหน้าที่ นายก.อบต.กระทุ่มล้ม ก็ตาม ก.อบต.จังหวัด ต้องพิจารณาและมีมติคัดเลือกคณะกรรมการสอบสวนเพื่อให้นายก อบต. (นายทักฯ ปลัด อบต. ปฏิบัติหน้าที่ นายก อบต.) ออกคำสั่งแต่งตั้งตามมติฯ แล้วแจ้งต้นสังกัดของผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการสอบสวนทราบ
แต่เมื่อนายทักฯ ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดย ก.อบต.จังหวัด มิได้พิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการสอบสวนย่อมทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวขัดแย้งกับข้อ 31 วรรคห้า ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย กรณีนี้แม้เป็นเพียงการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ย่อมชอบที่จะนำเอากระบวนการ ทางวินัยอย่างร้ายแรงมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย
หารือการเพิ่มโทษทางวินัยพนักงานส่วนตำบลหลัง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 12 มกราคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีของนางศิ อบต.บึง ได้มีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2544 และคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น เมื่อ วันที่ 23 พ.ค. 2545 แล้วรายงาน ก.อบต.จังหวัด เพื่อพิจารณา ขณะเดียวกัน นางศิฯ ได้ โอน (ย้าย) ไปดำรงตำแหน่ง หน.ส่วนการคลัง อบต.อื่น
ต่อมา ก.อบต.จังหวัด ได้มีมติให้เพิ่มโทษนางศิฯ เป็นไล่ออกจากราชการ แล้วแจ้งมติดังกล่าวให้ อบต.ห้วยทราบ แต่ อบต.ห้วย ยังมิได้มีคำสั่งเพิ่มโทษนางศิฯ ให้เป็นไปตามมติ ก.อบต. จังหวัด ดังกล่าว ปรากฏว่า พ.ร.บ.ล้างมลทิน มีผลใช้บังคับในวันที่ 5 ธ.ค. 2550 อบต.ห้วย จึงไม่สามารถสั่งเพิ่มโทษให้เป็นไปตามมติ ก.อบต.จังหวัดได้ เนื่องจาก
นางศิฯ ได้ถูกลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน และถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ย่อมเป็นผู้ถูกลงโทษเพราะกระทำผิดวินัย จึงได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 แล้ว

ร้องขอให้ทบทวนมติ ก.อบต.จังหวัดนนทบุรี กรณีการเพิ่มโทษทางวินัยภายหลังกฎหมายล้างมลทินมีผลใช้บังคับ เมื่อ อบต. มีคำสั่ง ลงโทษภาคทัณฑ์ นายพี และน.ส.ภ ในวันที่ 22 มิ.ย. 2550 แล้วรายงานการดำเนินการทางวินัยดังกล่าวให้ ก.อบต. จังหวัดพิจารณา แม้ว่า ก.อบต.จังหวัด จะมีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2550 เมื่อวันที่ 22 พ.ย.
2550 ให้ไล่ทั้งสองคนออกจากราชการ แต่การที่ อบต. ได้ออกคำสั่ง เพิ่มโทษตามมติ ก.อบต.จังหวัดนนทบุรี เป็นไล่นายพีฯ และ น.ส.ภฯ ออกจากราชการ ลงวันที่ 27 ธ.ค.2550 หลังจากที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ โดยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธ.ค.พ.ศ.2550 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อน หรือในวันที่พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ
ดังนั้นบุคคลทั้งสองย่อมเป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 จึงได้รับการล้างมลทิน โดยผลของกฎหมายแล้ว อบต. จึงไม่สามารถมีคำสั่งเพิ่มโทษนายพี และ น.ส.ภฯ เป็นไล่ออกตามมติ ก.อบต.จังหวัด ได้
ส่วนการที่ ก.อบต.จังหวัด ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2550 เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2550 ให้ไล่ทั้งสองคนออกจากราชการแต่ อบต. ได้ออกคำสั่ง เพิ่มโทษเป็นไล่นายพีฯ และ น.ส.ภฯ ออกจากราชการ ลงวันที่ 27 ธ.ค.2550 พิจารณาได้ว่า การดำเนินการไม่เป็นไปตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.1/345 ลงวันที่ 18 ธ.ค. 2545 จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองได้รับผลจาก พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 ให้ ก.อบต.จังหวัดนนทบุรี พิจารณาดำเนินการตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.6/ว 110 ลงวันที่ 4 ก.ค.2551
อนึ่ง กรณีตามคำร้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ตามหนังสือกระทรวง
มหาดไทย ที่ มท 0809.8/ว 1092 ลงวันที่ 3 เม.ย. 2551 เรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องนำเรื่องเสนอ ก.จ.จ., ก.ท.จ. และ ก.อบต.จังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณา และเมื่อมีมติเป็นประการใดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการไปตามนั้น เห็นควรแจ้งให้ ก.อบต.จังหวัดนนทบุรี ดำเนินการตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวด้วย

การร้องขอให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่น และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ อ.ก.อบต.โครงสร้าง พิจารณาแล้วเห็นว่า ก.พ. และ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นขึ้นบนพื้นฐานการบริหารงานบุคคลที่เป็นปัญหาเฉพาะขององค์กรกลางการบริหารงานบุคคลแต่ละประเภท
กรณีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก.อบต. กำหนดให้บรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้นหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ไปบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งอื่น ที่มิใช่ตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้อีกทางหนึ่งด้วยแล้ว โดยมิต้องไปสอบแข่งขันอีกครั้งหนึ่งดังเช่นกรณีของ ก.พ. หรือ ก.ค.ศ. ดังนั้น จึงไม่มีเหตุในการแก้ไขหลักเกณฑ์แต่อย่างใด
กรณีที่ผู้ร้องยกเหตุว่า ผู้สอบแข่งขันได้เป็นจำนวนมากกำลังเดือดร้อนและเสียสิทธิได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น เห็นว่า ตามหลักการสอบแข่งขันมีวัตถุประสงค์เพื่อสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งที่ว่างในขณะนั้น แต่กำหนดให้มีการขึ้นบัญชีเพื่อเป็นการแก้ไขกรณีมีตำแหน่งว่างเพิ่มขึ้นอีก ภายหลังที่ได้ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันไปแล้วโดยกำหนดให้บัญชีนั้นสามารถใช้ได้ภายใน 2 ปี
ดังนั้น การที่ผู้ร้องว่าเสียสิทธิในการบรรจุแต่งตั้ง จึงมิใช่เป็นการเสียสิทธิ เพราะสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีตำแหน่งว่างและมีการเรียกผู้นั้นมารายงานตัวตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อรับการบรรจุแต่งตั้งตามเงื่อนไขที่ประกาศรับสมัครกำหนดไว้มาตั้งแต่เริ่มแรก จึงผูกพันที่ ผู้สอบแข่งขันได้จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น จึงเห็นว่าข้อเรียกร้องนั้นมีเหตุผลไม่เพียงพอและเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลักเกณฑ์การสอบแข่งขัน สมควรแจ้ง ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรี ชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้ร้องต่อไป
การร้องเรียน ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ไม่เป็นธรรม คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วจึงมีความเห็นดังนี้
1. สาเหตุที่มีการดำเนินการให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ โดยไม่เรียงตามลำดับที่ เชื่อได้ว่า ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจาก ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่กระทำเกินขอบอำนาจหน้าที่จนก่อให้เกิดการอนุญาตให้ใช้บัญชีสอบไม่เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปและหลักเกณฑ์ที่ ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ กำหนดไว้เอง จึงเป็นกรณีที่ ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ จะต้องรับผิดชอบกับการกระทำของผู้รับมอบอำนาจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
2. ในความรับผิดชอบตามข้อ 1 ถือเป็นหน้าที่ที่ ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เป็นที่ปรากฏแล้วพิจารณาดำเนินการแก้ไขให้ได้รับความเป็นธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย หากผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายไม่เห็นพ้องกับการแก้ไขปัญหาของ ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ ก็ชอบที่จะนำผลการดำเนินการของ ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้เข้าสู่การพิจารณาของศาลต่อไป
3. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อบต.จังหวัดศรี สะเกษ ที่จะต้องประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด
ศรีสะเกษ และผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของ
ผู้ที่กระทำการเกินขอบอำนาจหน้าที่จนก่อให้เกิดผลร้ายกับผู้สอบแข่งขันและเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการเพื่อหาผู้รับผิดทั้งทางด้านวินัย แพ่ง และอาญากับผู้รับมอบอำนาจและเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ก่อให้เกิดผลร้ายนั้น
4. หากพบว่าเป็นกรณีที่มีการร่วมกันกระทำความผิดอย่างเป็นขบวนการ ก็ชอบที่ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ จะขอความร่วมมือไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปปช. และ ปปง. เข้าร่วมดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
5. เสนอกระทรวงมหาดไทย แจ้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวกับข้องการสอบแข่งขันทั้งหมดไว้ในที่ที่ปลอดภัย
ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการตรวจสอบของอนุกรรมการและมอบหมายให้อนุกรรมการฯ ไปพิจารณาแล้วเสนอ ก.อบต.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ครั้งที่ 4/2552 วันที่ 29 เมษายน 2552 หารือการขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ ก.อบต.จังหวัดราชบุรี เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบล 1. ขอให้จังหวัดไปพิจารณาตามอำนาจหน้าที่
2. ให้ฝ่ายเลขานุการไปพิจารณาเกี่ยวกับมติที่ประชุมและแจ้งให้ ก.อบต. พิจารณาทราบ หากเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบขอให้แก้ไขรายงานการประชุมให้ฝ่ายเลขานุการทราบ หากการแก้ไขไม่ใช่ในสาระสำคัญก็พิจารณาได้ แต่ถ้าเป็นการแก้ไขในสาระสำคัญให้นำเข้าที่ประชุมครั้งต่อไป

แก้ไขมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง ขอให้ฝ่ายเลขานุการนำข้อสังเกตของ ก.อบต. ไปพิจารณาเข้าสู่ อ.ก.อบต.โครงสร้าง เพื่อนำไปพิจารณาและเสนอเข้าสู่ ก.อบต. ในการประชุมครั้งต่อไป
เพื่อทราบ การอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วน
ตำบลวังน้ำเขียว
อ.ก.อบต.กฎหมาย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า
3.1 กรณี ก.อบต.จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดกาญจนบุรี
ก.อบต. พิจารณาแล้วเห็นว่า การอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ซึ่งแจ้งให้ผู้สอบแข่งขันได้ทุกคนลงนามในบันทึกยินยอมหรือสละสิทธิ์ล่วงหน้า เพื่อให้มีการเรียกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้โดยไม่เรียงตามลำดับที่นั้น เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบ จึงได้มีมติกำหนดมาตรการแนะนำเพื่อเยียวยาผู้สอบแข่งขันได้นั้น เป็นกรณีที่ ก.อบต. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 (10) ประกอบมาตรา 26 วรรคท้าย กล่าวคือ ให้ข้อคิดหรือให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) เมื่อพิจารณาเห็นว่า ก.อบต.จังหวัดทั่วประเทศได้ให้ความเห็นชอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล
การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียวโดยไม่เรียงตามลำดับที่ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบตามมาตรฐานทั่วไปที่กำหนดให้บรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพราะฉะนั้น ก.อบต. จึงต้องแจ้งให้ ก.อบต.จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 19 วรรคสอง ประกอบมาตรา 26 วรรคท้าย และได้แจ้งให้ทุกจังหวัดทราบแล้วตามหนังสือสำนักงาน ก.อบต. ที่ มท 0809.2/ว 125 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติโดยบริบูรณ์แล้ว
สำหรับกรณีที่ผู้หารือมีความเห็นสรุปได้ว่า ก.อบต.จังหวัดนครปฐม ไม่มีอำนาจสั่งการ คณะกรรมการข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นทุกจังหวัดนั้น พิจารณาแล้วเห็นว่าหนังสือของ ก.อบต.จังหวัดนครปฐมที่แจ้งเปลี่ยนแปลงวันอนุญาตให้ใช้บัญชีของ อบต.วังน้ำเขียวที่ถูกต้องครั้งใหม่ เพื่อแก้ไขการอนุญาตให้ใช้บัญชีของ อบต.วังน้ำเขียวให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ตนเองเป็นผู้กำหนด เป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้และการดำเนินการของ ก.อบต.จังหวัดนครปฐมเช่นว่านั้นหาได้มีลักษณะของการสั่งการคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ ก.อบต.จังหวัดบุรีรัมย์ และ ก.อบต.จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้มีมติให้ความเห็นชอบการบรรจุแต่งตั้งบุคคลโดยไม่เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปและหลักเกณฑ์ที่ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ อบต.วังน้ำเขียว ดำเนินการสอบที่กำหนดไว้ ต้องนำมติ ก.อบต. ดังกล่าวประกอบการแจ้งแก้ไขวันอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อบต.วังน้ำเขียวไปพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาเช่นเดียวกับที่ ก.อบต. ได้แจ้งและ
ให้คำแนะนำกับ ก.อบต.จังหวัดทั่วประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งแต่ประการใด
อนึ่ง ข้อกล่าวอ้างของ ก.อบต.จังหวัดบุรีรัมย์ที่ว่า ก.อบต.จังหวัดนครปฐมไม่มีอำนาจสั่งการคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น ก็ดี และ ก.อบต.จังหวัดกาญจนบุรี ที่ไม่เห็นชอบให้ดำเนินการตามที่ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม แจ้งให้ทราบ ก็ดี ไม่เป็นเหตุให้การพิจารณาให้ความเห็นชอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานส่วนตำบลของ ก.อบต.จังหวัดบุรีรัมย์ และ ก.อบต. จังหวัดกาญจนบุรี โดยไม่เรียงตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล อันเป็นการกระทำที่มิชอบให้กลายเป็นการกระทำที่ชอบได้
ฉะนั้น สถานภาพของบุคคลที่ ก.อบต.จังหวัดบุรีรัมย์ และ ก.อบต.จังหวัดกาญจนบุรี ให้ความเห็นชอบบรรจุแต่งตั้งโดยไม่เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปและยังไม่ได้รับความเห็นชอบให้บรรจุและแต่งตั้งใหม่ตามที่ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม แจ้งให้ทราบ จึงยังไม่มีสถานภาพความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจนกระทั่งปัจจุบัน และความเสียหายอันเกิดจากการกระทำดังกล่าว ก.อบต.จังหวัดบุรีรัมย์และ ก.อบต.จังหวัดกาญจนบุรี ย่อมต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดจากการใช้ดุลพินิจของตน
อย่างไรก็ตามเห็นควรแจ้งให้ ก.อบต.จังหวัดบุรีรัมย์ และ ก.อบต.จังหวัดกาญจนบุรีทราบเพิ่มเติม ว่าหากดำเนินการล่าช้าอาจก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการแก้ไขเยียวยาในภายหลังได้
การบรรจุแต่งตั่งในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกื้อกูลกัน 3.2 กรณี ก.อบต.จังหวัดอ่างทอง
กรณีข้อหารือพิจารณาได้ว่า หาก ก.อบต.จังหวัดอ่างทอง ได้ให้ความเห็นชอบการบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบล ตั้งแต่วันที่1 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังที่ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม ได้แจ้งว่าวันที่อาจบรรจุแต่ตั้งได้ไม่ก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จึงพิจารณาได้ว่า บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรก จึงไม่มีเหตุในการแก้ไขคำสั่งบรรจุแต่งตั้งแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจะบริบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้รับการบรรจุแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การบรรจุแต่งตั้งที่ดำเนินการข้ามลำดับที่ที่สอบแข่งขัน ถือว่าเป็นการบรรจุแต่งตั้งโดยมิชอบ เป็นผลให้ผู้นั้น ยังไม่มีสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาตั้งแต่เริ่มแรก สิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการขณะนั้น จึงยังไม่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้น สถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจะเริ่มต้น ณ วันที่มีการบรรจุแต่งตั้งครั้งใหม่ และสิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นย่อมเริ่มต้นใหม่นับตั้งแต่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งโดยชอบเช่นเดียวกัน
สำหรับกรณีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถือเป็นหน้าที่ที่ต้องมีการดำเนินการ ฉะนั้น หากยังไม่มีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก็ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องให้พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ครบถ้วน
3.3 กรณี ก.อบต.จังหวัดนครราชสีมา
การแก้ไขปัญหาการอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ตามที่ ก.อบต. กำหนดมาตรการแนะนำเพื่อเยียวยาผู้สอบแข่งขันได้โดยให้มีการบรรจุแต่งตั้งตามลำดับที่ที่สอบแข่งขันได้เสียใหม่ จะมีรายละเอียดดำเนินการเป็นประการใด เป็นกรณีที่ ก.อบต.จังหวัดนครราชสีมา จะต้องตรวจสอบกับ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม หากเห็นว่า ก.อบต.จังหวัดนครปฐมดำเนินการไม่ถูกต้องอย่างไร ก็สมควรที่ ก.อบต.จังหวัดนครราชสีมา จะแจ้งให้ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม ทราบอีกครั้ง มิใช่เป็นกรณีที่จะนำความเห็นของ ก.อบต. เพื่อไปรับรองหรือยืนยันว่าการดำเนินการของ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม กระทำผิดหรือถูกต้อง จึงไม่ควรรับประเด็นหารือนี้ไว้พิจารณา

เพื่อทราบ หารือคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล อ.ก.อบต.กฎหมาย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552พิจารณาแล้วเห็นว่า คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) กำหนดให้นำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์ เพื่อลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งบริหารเป็นเวลา 1 ปี ได้เมื่อ ก.อบต.จังหวัดได้เห็นชอบให้นำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์เพื่อลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งบริหารเป็นเวลา 1 ปีได้ แล้วให้รายงานผลต่อสำนักงาน ก.อบต. เพื่อตรวจสอบและออกหนังสือรับรองเพื่อให้ผู้ผ่านการประเมินนำไปประกอบการสมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้นต่อไป
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารเพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหาร พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ ดังนี้
1) ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.อบต.จังหวัดให้นำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์แล้ว
2) สำนักงาน ก.อบต. ตรวจสอบและออกหนังสือรับรอง
3) ผู้ผ่านการประเมินต้องนำหลักฐานตามข้อ 1) และ 2) ไปประกอบการสมัครสอบในวันรับสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น


เพื่อทราบ หารือเกี่ยวกับการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ของ อบต.วังน้ำเขียว
ซึ่งโอนมาจากข้าราชการรัฐสภาสามัญ อ.ก.อบต.กฎหมาย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจะบริบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้รับการบรรจุแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การบรรจุแต่งตั้งที่ดำเนินการข้ามลำดับที่ที่สอบแข่งขัน ถือว่าเป็นการบรรจุแต่งตั้งโดยมิชอบ เป็นผลให้ผู้นั้น ยังไม่มีสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาตั้งแต่เริ่มแรก สิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการขณะนั้น
จึงยังไม่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้น สถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจะเริ่มต้น ณ วันที่มีการบรรจุแต่งตั้งครั้งใหม่ และสิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นย่อมเริ่มต้นใหม่นับตั้งแต่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งโดยชอบเช่นเดียวกัน
กรณีข้อหารือนี้ พิจารณาได้ว่า สถานะความเป็นพนักงานส่วนตำบลของว่าที่ ร.ต.กฤษ.. จึงเริ่มต้นไม่ก่อนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 สำหรับระยะเวลาที่หายไป ช่วงระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 นั้น เห็นว่า บุคคลดังกล่าวไม่อาจกลับไปดำรงตำแหน่งในสถานะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญดังเดิมได้ เพราะผลของการรับโอนไปแล้ว
โดยอาจพิจารณาประสานความร่วมมือให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการดังกล่าวไปช่วยราชการใน อบต. ในห้วงเวลานั้น
ครั้งที่ 5/2552 วันที่ 29 พฤษภาคม2552 แก้ไขมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 พิจารณาในประเด็นดังกล่าว มีความเห็นว่า
1. เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน
2. เพื่อให้ลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าลูกจ้างประจำ ของส่วนราชการอื่น เนื่องจากลูกจ้างประจำของส่วนราชการอื่น (พลเรือน) อบจ.และเทศบาล เกษียณที่อายุ 60 ปี ซึ่งตามหลักการการบริหารงานบุคคลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว มีหลักการว่า สิทธิ สวัสดิการและประโยชน์ตอบแทนอื่นของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นจะต้องได้เทียบเท่าพลเรือนหรือไม่ต่ำกว่าพลเรือน ประกอบกับ ก.จ. และ ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 มีมติให้แก้ไขคุณสมบัติลูกจ้างประจำจาก 55 ปี เป็น 60 ปีแล้ว
3. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความลักลั่นระหว่างลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและลูกจ้างประจำที่ถูกถ่ายโอนมาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีมาตรฐานอย่างเดียวกัน ประกอบกับเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิตประจำวันในปัจจุบันนี้ หากให้เกษียณอายุราชการที่ 55 ปี อาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น คนว่างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนที่อายุ 55 ปีแล้ว เมื่อเกษียณอายุราชการไปแล้วก็จะเป็นอุปสรรคต่อการหางานใหม่ (ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดรับเข้าทำงาน)
4. ประเด็นปัญหาเรื่องคนล้นงาน หรือลูกจ้างประจำหย่อนความสามารถในการปฏิบัติงานนั้น ถึงแม้ว่าเมื่อมีการแก้ไขให้ลูกจ้างประจำเกษียณอายุ 60 ปีแล้วก็ตาม หากลูกจ้างประจำผู้ใดหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนและเสนอ ก.จังหวัด เพื่อพิจารณาให้ออกจากราชการได้เช่นเดียวกับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ประกอบกับกรณีเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตามมาตรา 35 แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ที่อาจเกินร้อยละ 40 ก็ถูกกำหนดด้วยแผนอัตรากำลังของ อบต. ที่กำหนดไว้อย่างจำกัดอยู่แล้ว ที่ให้บริหารงานบุคคลเป็นไปตามกรอบอัตรากำลังเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านบุคคลตาม พรบ. ดังกล่าว
5. หลักการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2536 ที่กำหนดให้ลูกจ้างประจำเกษียณอายุราชการที่ 55 ปี นั้น เนื่องจากเห็นว่า ลูกจ้างประจำเมื่ออายุ 55 ปีแล้ว อาจมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ร่างกายที่เสื่อมถอยไป จะไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ ซึ่งหลักการดังกล่าว ปัจจุบันนี้ระบบการแพทย์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ การใส่ใจและดูแลสุขภาพของบุคคลมีการพัฒนาและเอาใจใส่ต่อสุขภาพมากขึ้น คนที่อายุ 55 – 60 ปี ยังมีร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับ ก.อบต. ก็มีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีการประเมินลูกจ้างประจำ หากลูกจ้างประจำหย่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานก็สามารถเสนอให้ ก.จังหวัด มีมติให้พ้นจากตำแหน่งได้ ถึงแม้อายุจะไม่ถึง 60 ปี ก็ตาม
6. กรณีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลในเรื่องการจ้างลูกจ้างประจำนั้น ปัจจุบันไม่สามารถที่จะกำหนดลูกจ้างประจำเพิ่มเติมขึ้นได้อีกแล้ว หากลูกจ้างประจำที่มีอยู่เดิมเกษียณหรือลาออกด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ก็จะต้องยุบเลิกในตำแหน่งนั้น
7. ในเรื่องระบบอุปถัมภ์ หากยังคงให้ลูกจ้างประจำเกษียณอายุที่ 55 ปีแล้ว ให้เป็นดุลพินิจของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพิจารณาต่ออายุราชการได้ปีต่อปีจนถึงอายุ 60 ปีนั้น จะทำให้เกิดความลักลั่นและไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างประจำอย่างเท่าเทียมกัน และจะทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ เลือกปฏิบัติในการต่อสัญญาจ้าง แต่หากให้เกษียณอายุที่ 60 ปี และบุคคลใดหย่อนความสามารถในการปฏิบัติงาน ก็ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอ ก.จังหวัด เพื่อให้ออกจากราชการ เพราะหย่อนความสามารถ ก็จะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างประจำ ลดโอกาสในการเลือกปฏิบัติ (ระบบอุปถัมภ์)
และเกิดประโยชน์แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง
ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
1. ประเด็นขอให้แก้ไขเกี่ยวกับการเกษียณอายุของลูกจ้างประจำจาก 55 ปี เป็น
60 ปี เห็นควรยกเลิก ข้อ 2 (2) และข้อ 3 วรรคแรก ของประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของลูกจ้างประจำว่า
“ข้อ 2 (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่เกินห้าสิบห้าปี
ข้อ 3 วรรคแรก คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น มีอำนาจพิจารณายกเว้นสำหรับลูกจ้างผู้ที่ขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 2(2) เป็นรายบุคคลได้ แต่อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีและไม่เกินหกสิบปี หรือการจ้างลูกจ้างลักษณะผู้ชำนาญงาน มีอำนาจพิจารณายกเว้นสำหรับลูกจ้างผู้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 2(2) และ (10) เป็นรายบุคคลได้”
ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปี
ข้อ 3 วรรคแรก คณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น มีอำนาจพิจารณายกเว้นการจ้างลูกจ้างลักษณะผู้ชำนาญงานสำหรับลูกจ้างผู้ขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 2 (10) เป็นรายบุคคลได้”
2. ประเด็นขอให้ยกเลิกการยุบเลิกตำแหน่งลูกจ้างประจำ กรณีที่ลูกจ้างประจำเกษียณหรือลาออก เพื่อให้สามารถรับพนักงานจ้างหรือบุคคลทั่วไปมาเป็นลูกจ้างประจำได้และการโอน(ย้าย) ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแทนตำแหน่งที่ว่าง เห็นว่า ประเด็นดังกล่าว ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากตามประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ได้กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่อัตราลูกจ้างตามมาตรฐานทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่างลงในทุกกรณี ให้ยุบเลิกตำแหน่งนั้น โดยหากยังมีความจำเป็นที่จะจ้างในตำแหน่งดังกล่าวในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่
ก็ให้ดำเนินการสรรหาพนักงานจ้างมาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ระบบการจ้างบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดความคุ้มค่าและมีบุคลากรที่มีทักษะ สมรรถนะและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
อีกทั้งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามมาตรา 35 แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงไม่สามารถที่จะจ้างลูกจ้าง
ประจำเพิ่ม (ใหม่) ได้
3. ประเด็นขอให้พิจารณาขยายอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำที่เงินค่าจ้างเต็ม
ขั้นแล้ว และยังอยู่ปฏิบัติงานต่อ เห็นว่า เนื่องจากการกำหนดอัตราค่าจ้างลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ได้นำบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการมาใช้บังคับแก่ลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลมด้วย ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะขยายอัตราค่าจ้างให้สูงขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ได้มีการกำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหมวดชื่อตำแหน่งไว้ทั้งสิ้น 7 หมวด
การขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์กรอื่น เพื่อเปลี่ยนสายงานเป็น
สางานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 กรณี ก.อบต.จังหวัดมีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
(เรื่องเพื่อทราบ)
อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552
พิจารณาแล้วเห็นว่า หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ มิได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานส่วนตำบล กรณีที่ ก.อบต.จังหวัดศรีสะเกษ มีบัญชี
ผู้สอบแข่งขันได้แล้วห้ามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในเขตพื้นที่ ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้อื่น
เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลประกอบกับกรณีข้อหารือนั้น มิใช่การขอใช้บัญชีเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็น
พนักงานส่วนตำบล หากแต่เป็นการขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขัน เพื่อประโยชน์ของพนักงานส่วนตำบลย้ายเปลี่ยน
สายงานจากเดิมที่ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มจากระดับ 1 หรือ ระดับ 2 เป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3
จึงเห็นว่า การนั้นก็ชอบที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอาจขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้อื่น
แต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุแต่งตั้งหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลข้อเท็จจริง โดยอาศัยอำนาจ
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 15 และมาตรา 26 วรรคท้าย ให้เหมาะสม
ตามควรแก่กรณีต่อไป

การจ้างพนักงานจ้างตามภารกิจประเภทผู้มีทักษะ (เรื่องเพื่อทราบ) กรณีการจ้างพนักงานจ้างตามภารกิจประเภทผู้มีทักษะ ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา ที่มีหนังสือรับรองจากนายจ้างเดิมว่าเป็นผู้มีทักษะและประสบการณ์ในการขับรถยนต์มาเกิน 5 ปี แต่มีใบอนุญาตขับรถยนต์มาไม่ครบ 5 ปี สามารถจ้างเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจ ประเภทผู้มีทักษะ ได้หรือไม่
อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 พิจารณาในประเด็นดังกล่าวว่า การจ้างพนักงานจ้างตามภารกิจ ประเภท ผู้มีทักษะ ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา ซึ่งต้องมีหนังสือรับรองการทำงานว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการขับรถยนต์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี จากนายจ้างหรือหน่วยงานเดิม ตามข้อ 6 (1) ของประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้างนั้น การรับรองการทำงาน จะต้องเป็นกรณีรับรองการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ ผู้ขับรถยนต์จะต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์ตามประเภทและชนิดที่กฎหมายกำหนดให้ถูกต้องตามกฎหมายและได้ปฏิบัติงานในการขับรถยนต์ดังกล่าวจริง จึงจะถือว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการขับรถยนต์ตามประกาศดังกล่าว
หารือการรับโอนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหารกรณีขอปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบล
อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 มีมติเห็นชอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลปทุม ปรับจากขนาดเล็กเป็นขนาดกลางและปรับปรุงระดับตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีระดับสูงขึ้นเป็นระดับ 7 แล้ว ให้ถือว่าเป็นการปรับปรุงแผนอัตรากำลังและให้องค์การบริหารส่วนตำบลปทุมดำเนินการแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดในแผนอัตรากำลังต่อไปตามประกาศหลักเกณฑ์ ก.อบต.จังหวัด ข้อ 27 (2) และข้อ 37
ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ครองตำแหน่งเดิมได้เสียชีวิต ในระหว่างนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลปทุมยังมิได้มีการดำเนินการปรับเป็นขนาดกลางและปรับปรุงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระดับ 7 ให้เป็นไปตามมติ ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุม ครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551
ต่อมาเมื่อ ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ได้มีการลงมติโดยเสียงข้างมากเห็นชอบรับโอนนายเจษฎากร สุรมิตร ตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองศรีไค (นักบริหารงาน อบต. ระดับ 6) มาดำรงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปทุมที่ว่าง ทั้งๆ ที่ ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงตำแหน่งนี้เป็นระดับ 7 ไปแล้วก่อนหน้านี้ และในระหว่างนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลปทุม ก็ยังไม่มีการดำเนินการปรับเป็นขนาดกลางและปรับปรุงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระดับ 7 ให้เป็นไปตามมติ ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี แต่อย่างใด
จากข้อเท็จจริงข้างต้น พิจารณาแล้วเห็นว่า การปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลปทุมจากขนาดเล็กเป็นขนาดกลางและปรับปรุงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระดับ 7 ย่อมเกิดสิทธิสมบูรณ์ขึ้นตั้งแต่วันที่ ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี มีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อยมาจนถึงวันที่องค์การบริหารส่วนตำบลปทุมออกประกาศกำหนดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นขนาดกลางและตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระดับ 7 การที่องค์การบริหารส่วนตำบลปทุม ไม่ดำเนินการเช่นว่านั้นให้เป็นไปตามมติ ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี จึงเป็นกรณีพิจารณาได้ว่ามิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวมาตรฐานทั่วไปและหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน หากแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นระหว่าง ก.อบต.จังหวัดอุบลราชธานี ผู้มีมติให้ความเห็นชอบตามอำนาจหน้าที่กับองค์การบริหารส่วนตำบลปทุมผู้ที่ต้องรับมตินั้นไปพิจารณาปฏิบัติ ซึ่งเป็น
กรณีที่จะต้องทำความจริงให้เป็นที่ปรากฏ ว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ถือปฏิบัติตามมติดังกล่าว อันเนื่องจากมีปัญหาอุปสรรคหรือเกิดจากการจงใจเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดในขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบลปทุมยังไม่มีการออกประกาศกำหนดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นขนาดกลางและตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระดับ 7 เช่นว่านั้น
ดังนั้น กรณีที่หารือมานี้จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.อบต. ที่จะพิจารณาได้ จึงเห็นควรไม่รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาและเห็นควรแนะนำจังหวัดอุบลราชธานีได้ใช้อำนาจของตนในการแก้ไขปัญหาก่อน ทั้งนี้ โดยนำแนวทางตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0809.8/1092 ลงวันที่ 3 เมษายน 2551 มาประกอบการพิจารณาด้วย
การกำหนดตำแหน่งบริหารงานคลัง 7 ในองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง
จังหวัดสุรินทร์ เห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมืองได้ปรับเป็นขนาดกลางแล้ว ตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง จึงเป็นส่วนราชการระดับกองหรือส่วนหรือเทียบเท่า ระดับ 7 หรือ 6 การขอปรับระดับตำแหน่งจากหัวหน้าส่วนการคลัง (นักบริหารงานการคลัง 7) ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจาก
1. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง (นักบริหารงานการคลัง 7) หัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานการคลัง 7) ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเป็นระดับหัวหน้าฝ่าย มิใช่ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือส่วนหรือเทียบเท่า ระดับ 7 หรือระดับ 6
2. องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง จะกำหนดตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง (นักบริหารงานการคลัง 7) จะไม่สามารถใช้วิธีการปรับระดับตำแหน่งได้ เนื่องจากตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง (นักบริหารงานการคลัง 6) เดิมเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก เมื่อปรับเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางแล้ว ตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลังต้องเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือส่วนหรือเทียบเท่า ระดับ 7 หรือ 6
3. หากองค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง ประสงค์จะกำหนดตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง (นักบริหารงานการคลัง 7) จะดำเนินการได้โดยการขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มเป็นระดับหัวหน้าฝ่าย แต่โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางก็มิได้กำหนดตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายไว้แต่อย่างไร อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ 10/2545 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2545 มีมติเห็นชอบให้กำหนดข้อแนะนำการจัดโครงสร้างส่วนราชการภายในระดับกองที่จำเป็นต้องมีและส่วนราชการเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล กรณีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ระดับ 7 ให้มีส่วนราชการเป็นส่วนการคลัง ระดับ 6 กรณีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ระดับ 8 ให้มีส่วนราชการเป็นกองคลังระดับ 7
ต่อมา ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550 พิจารณาเห็นว่า การกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่และขนาดกลางควรมีมาตรฐานและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล อันจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงมีมติเห็นชอบกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2550 กำหนดว่า กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางที่มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นระดับ 7 ให้กำหนดตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการเป็นหัวหน้าส่วน ระดับ 7 หรือ 6 และกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ที่มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระดับ 8 ให้กำหนดตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้อำนวยการกอง ระดับ 8 หรือ 7 รายละเอียดตามคำชี้แจงแนบท้ายประกาศดังกล่าว
กรณีข้อหารือพิจารณาได้ ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนอกเมือง ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง และมีกรอบโครงสร้างตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นระดับ 7 จึงต้องกำหนดกรอบโครงสร้างตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการเป็นหัวหน้าส่วนการคลัง (นักบริหารงานการคลัง 6) และอาจพิจารณาปรับปรุงระดับตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลังให้มีระดับสูงขึ้นเป็นระดับ 7 ได้ ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2550 ทั้งนี้ การเสนอขอปรับปรุงระดับตำแหน่งจะต้องพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในด้านปริมาณงานและคุณภาพของงานเป็นสำคัญ มิใช่เพื่อเหตุผลด้านตัวบุคคล กรณีดังกล่าวความเห็นของจังหวัดสุรินทร์ชอบแล้ว
ส่วนกรณีที่จังหวัดสุรินทร์ มีความเห็นว่า ตำแหน่งหัวหน้าส่วน ระดับ 6 ไม่สามารถปรับเป็นระดับ 7 เนื่องจากมิใช่ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ นั้น น่าจะเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือไม่เข้าใจความหมายข้อความของ “หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือส่วนหรือเทียบเท่า” ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2550
ครั้งที่ 6/2552 วันที่ 25 มิถุนายน 2552 โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภารกิจ บทบาท เป็นไปอย่างคุ้มค่า เต็มศักยภาพและได้ประโยชน์สูงสุด เห็นควรกำหนดให้มีโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยมีสาระสำคัญและหลักการเช่นเดียวกันกับโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 แต่ควรปรับปรุงสัดส่วนจำนวนร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ ให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับของส่วนราชการ ดังนี้
กรณีที่ 1 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอัตรากำลังเกิน (มีค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร
งานบุคคลเกินกว่าร้อยละ 40 ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.2542) ให้กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายหากคำนวณแล้ว
มีเศษไม่ถึง 1 ให้ปัดเศษเป็น 1 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องยุบเลิกตำแหน่งผู้เข้าร่วมโครงการ
เว้นแต่กรณีเป็นตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหรือหัวหน้าส่วนราชการ
กรณีที่ 2 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอัตรากำลังเหมาะสมกับภารกิจ (มีค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงานบุคคลไม่เกินกว่าร้อยละ 40 ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542) แต่มีประเด็นจำนวนข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลสูงอายุ (50 ปีขึ้นไป) หรือมีอายุราชการ 25 ปีขึ้นไป (ไม่รวมวันทวีคูณ) มากกว่าร้อยละที่กำหนดของจำนวนข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนี้
(1) มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป ให้กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมาย หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึง 1 ให้ปัดเศษเป็น 1
(2) มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ร้อยละ 15 แต่ไม่ถึงร้อยละ 20 ให้กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการได้ไม่เกินร้อยละ 7.5 ของกลุ่มเป้าหมาย หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึง 1 ให้ปัดเศษเป็น 1
(3) มีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ร้อยละ 10 แต่ไม่ถึงร้อยละ 15 ให้กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของกลุ่มเป้าหมาย หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึง 1 ให้ปัดเศษเป็น 1
อนึ่ง อ.ก.อบต.โครงสร้าง มีข้อสังเกตประกอบการพิจารณาของ ก.อบต. เพิ่มเติม ดังนี้
1. การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
1.1 กรณีกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
(1) ขอให้พิจารณาการกำหนดสัดส่วนกรณี อบต. ที่มีภาระค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงานบุคคลเกินกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายนั้น พิจารณาได้ว่า อบต. นั้น ดำเนินการขัดต่อกฎหมายแล้ว การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเท่ากับ อบต. ที่คุมภาระค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงานบุคคลภายในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดนั้น จะเป็นการเหมาะสมหรือไม่ประการใด
2. อำนาจผู้บริหารท้องถิ่น
การเข้าร่วมโครงการนี้ให้เป็นไปตามความสมัครใจของพนักงานส่วนตำบลและความยินยอมของ อบต. ต้นสังกัด ภายใต้ประโยชน์ของทางราชการและการมีอัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการสาธารณะอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงให้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ในกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 หาก อบต. มีเหตุผลความจำเป็นต้องกำหนดจำนวน
ผู้เข้าร่วมโครงการเกินกว่าที่กำหนด ให้ ก.อบต.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็น แล้วเสนอให้ ก.อบต. พิจารณาต่อไป
2. ในการพิจารณาให้ความยินยอมของ อบต. ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายก อบต.ที่จะพิจารณา โดยจะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณสมบัติที่กำหนดและต้องคำนึงถึงประโยชน์ของ อบต. และการมีอัตรากำลังเพียงพอต่อการให้บริการสาธารณะอย่างต่อเนื่อง และสถานะการคลังของ อบต. เป็นสำคัญ

หารือแนวทางการเลื่อนระดับกรณีการนำระยะเวลาทวีคูณมานับรวม
เพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น กรณี ก.อบต.จังหวัดสตูล และปัตตานี
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า
1. กรณี ก.อบต.จังหวัดสตูล เห็นว่า โดยผลแห่งประกาศ ก.อบต.จังหวัดสตูล เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการนับระยะเวลาวันทวีคูณในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้ง และเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2550 ทำให้พนักงานส่วนตำบลสามารถนำระยะเวลามานับรวมเป็นวันทวีคูณได้ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2550 สำหรับ
วันที่พนักงานส่วนตำบลอาจเลื่อนระดับได้ให้คำนึงถึงวันที่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์การเลื่อนระดับ ทั้งนี้ การพิจารณาให้เป็นไปตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อบต.จังหวัดสตูลนั้น ความเห็นของ ก.อบต.จังหวัดสตูล ชอบแล้ว
2. กรณีจังหวัดปัตตานี ประเด็นข้อหารือ คือ การขอยื่นเรื่องประเมินเพื่อเลื่อนระดับ 4 ก่อน ก.อบต.จังหวัดปัตตานีเห็นชอบการเลื่อนระดับ 3 โดยอ้างเหตุการณ์ได้วันทวีคูณทำให้มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่อาจเลื่อนเป็นระดับ 4 ได้ นั้น กรณีข้อหารือเป็นปัญหาข้อเท็จจริงในการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเลื่อนระดับซึ่งกำหนดว่า การยื่นเรื่องเพื่อประเมินเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ให้ยื่นเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนและการปรับระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นให้ดำเนินการได้ครั้งละไม่เกิน 1 ระดับ ดังนั้น กรณีข้อหารือ มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกิดจากความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานทั่วไป จนไม่อาจตีความวินิจฉัยได้จึงชอบที่ ก.อบต.จังหวัดปัตตานี พึงพิจารณาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยให้เป็นไปตามประกาศหลักเกณฑ์ที่ ก.อบต.จังหวัด กำหนดไว้
หารือการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง กรณี การขอกลับเข้ารับราชการ
ตำแหน่ง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (นักบริหารงาน อบต. ระดับ 7) องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งปลัด อบต.มาก่อน
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้มีสิทธิสมัครคัดเลือกหรือผู้ที่จะได้รับคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่งรองปลัดหรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง โดยมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางรัฐศาสตร์ การปกครอง
รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ กฎหมาย หรือทางอื่นที่ ก.อบต.กำหนดว่า ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และได้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองปลัด หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
(นักบริหารงาน อบต. หรือเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป) มาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้ซึ่งพ้นจากการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองปลัดหรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ) ที่ ก.ท. (เดิม) ดังกล่าวด้วยเหตุลาออก ต่อมาได้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งสายงานเดิม จึงอาจนำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเมื่อครั้งก่อนลาออกจากราชการมานับรวมกับระยะเวลาที่ได้กลับเข้ารับราชการมานับรวมกันเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่กำหนดว่า ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนั้น
หารือการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในสายงานผู้ปฏิบัติ
ให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ว่า สามารถดำเนินการได้หรือไม่
(เรื่องเพื่อทราบ)
อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า ประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ได้กำหนดวิธีการสรรหาและคัดเลือก ไว้ 4 วิธี คือ การสอบแข่งขัน การคัดเลือกกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก และการคัดเลือก
กรณีวิธีการสอบคัดเลือก จะหมายถึง การดำเนินการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบล ใน 3 กรณี ดังนี้
1. เพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในสายงานเดียวกัน
2. เพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลให้ดำรงตำแหน่งในต่างสายงาน
3. เพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของ อบต. โดยให้ ก.อบต.จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก ในกรณีที่ ก.อบต.จังหวัดเห็นสมควร อาจมอบหมายให้ อบต.หรือองค์กรใดเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้ เว้นแต่การสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของ อบต. ให้ ก.อบต.จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก ต่อมาประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2547 ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกในทั้ง 3 กรณีดังกล่าวให้ อบต. เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก ในกรณีที่ อบต.ไม่สามารถดำเนินการได้ อาจร้องขอให้ ก.อบต.จังหวัดดำเนินการแทนให้ก่อน หากไม่สามารถทำได้ให้ร้องขอส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการแทนก็ได้
หลังจากนั้นประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก บรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ก็ได้มีการเปลี่ยนสาระสำคัญเฉพาะกรณีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหารต่างสายงานหรือแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานให้ดำรงตำแหน่งบริหารของ อบต.หรือแต่งตั้งพนักงานครู อบต.ให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้ อบต. หรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นหรือจังหวัดที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมอบหมายเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น ส่วนกรณีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในสายงานปฏิบัติ ยังคงเป็นอำนาจของ อบต.ที่สามารถดำเนินการได้ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก บรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2547 และประกาศ ก.อบต. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การสอบคัดเลือกสำหรับพนักงาน ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2547
ครั้งที่ 7/2552
วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 หารือการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษแก่พนักงานจ้างทั่วไป
จ.นครสวรรค์หารือแนวทางปฏิบัติการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) กรณีพนักงานจ้างทั่วไป ซึ่งตามประกาศ ก.อบต.จังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานในรอบปีที่แล้วมาไม่น้อยกว่า 8 เดือน เพียงแต่กำหนด “ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไป ปีละ 2 ครั้ง ตามปีงบประมาณ” ดังนั้น พนักงานจ้างทั่วไป
ที่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานในช่วงระยะใด ๆ ของปีงบประมาณนั้นทั้งปี (รวม 2 ครั้ง) ในระดับดีขึ้นไป ย่อมเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่น จึงหารือว่าความเห็นของจังหวัดถูกต้องหรือไม่ 1. การพิจารณาจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่พนักงานจ้างทั่วไป ให้ถือปฏิบัติตาม
ประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดเป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้นั้นผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานปีละ
2 ครั้ง ในระดับดี
2. ให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การประเมินกรณีพนักงานจ้างทั่วไปให้ถือปฏิบัติและดำเนินการเช่นเดียวกับพนักงานจ้างตามภารกิจ เพื่อมิให้เกิดความลักหลั่นอีกต่อไป
3. ให้แจ้งเวียนแนวทางการจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้เกิดความเข้าใจถูกต้องต่อไป
หารือคุณสมบัติคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
ที่สูงขึ้น กรณีขอเทียบตำแหน่งปลัด อบต. กับตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานปลัด อบต. 1. เห็นชอบให้สายงานนักบริหารงาน อบต. เป็นสายงานที่เทียบเท่าสายงานนักบริหารงานทั่วไป เพื่อประโยชน์ในการโอน การเลื่อนระดับ กรณีเปลี่ยนสายงานไปดำรงตำแหน่งสายงานนักบริหารงานทั่วไป ซึ่งเป็น สายงานที่ต่ำกว่าได้
2. ให้ อ.ก.อบต.โครงสร้าง ศึกษาความเหมาะสมในการกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ระดับ 7 ใน อบต. ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ต่อไป
การกำหนดเงินประจำตำแหน่งบริหาร ระดับ 7 อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552
ได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้ว มีความเห็นดังนี้
การกำหนดเงินประจำตำแหน่งให้แก่ นักบริหารงานการคลังและนักบริหารงานช่าง นั้น จำเป็นต้องพิจารณาทั้งระบบ กล่าวคือ จะต้องพิจารณาให้แก่นักบริหารงานสายงานอื่นในคราวเดียวกันด้วย ภายใต้หลักการของการประเมินค่างานคืองานเท่ากัน เงินเท่ากัน EQUAL PAY FOR EQUAL WORK หลักการสร้างแรงจูงใจ หลักความมั่นคงทางฐานะการคลัง ความสามารถในการจ่าย ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน ตลอดจนการกำหนดสิทธิประโยชน์ในลักษณะเดียวกันขององค์กรกลางประเภทอื่น
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากภารกิจ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการของ อบต. แล้ว สมควรกำหนดให้มีเงินประจำตำแหน่ง และการกำหนดในอัตราเท่าใดนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาความเหมาะสมเนื่องจากการกำหนดเงินประจำตำแหน่งนั้น ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลังของท้องถิ่น ประกอบกับในขณะนี้ประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานสูงอันเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงสมควรสอบถามความเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. รวมทั้งส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่ สำนักงาน กถ. ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งและการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนหรือความยุ่งยากเมื่อการปรับใช้ระบบค่าตอบแทนใหม่
หารือการโอนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหารที่มิใช่ตำแหน่งเดียวกัน
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า การรับโอนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหารจากองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นที่ประสงค์ ขอโอนมาเป็นพนักงานส่วนตำบลในตำแหน่งผู้บริหารที่ว่างอีกแห่งหนึ่ง จะต้องดำเนินการภายใต้บังคับข้อ 153 แห่งประกาศ ก.อบต.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อบต. ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 25456 กล่าวคือ ตามประกาศ ก.อบต.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2546 ข้อ 153 กำหนดว่า กรณี อบต. มีตำแหน่งบริหารว่าง อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีด้วยการรับโอนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งและระดับเดียวกันกับตำแหน่งที่ว่างจาก อบต. อื่น หรือการคัดเลือกเพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างหรือคัดเลือกเพื่อรับโอนข้าราชการประเภทอื่น โดยมิได้กำหนดวิธีโอน (ย้าย) ไว้แต่อย่างใด ดังนั้น กรณีข้อหารือการรับโอนผู้ดำรงตำแหน่งปลัด อบต. มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานปลัด อบต. ซึ่งมิใช่ตำแหน่งเดียวกัน จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อบต.จังหวัดพระนครศรีอยุธยากำหนด
สำหรับกรณีตามข้อ 159 และข้อ 161 แห่งประกาศหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าว เป็นกรณีการย้ายตำแหน่งต่างสายงานภายในองค์การบริหารส่วนตำบลเดียวกัน มิได้หมายถึงการโอนจากองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น เพราะการย้ายเป็นไปตามหมวด 6 และการโอนเป็นไปตามหมวด 7 ซึ่งมีเงื่อนไขและวิธีดำเนินการแตกต่างกัน
หารือการโอนพนักงานส่วนตำบล สายงานเริ่มต้นจากระดับ 2 ไปเป็นข้าราชการประเภทอื่น ในสายงานเริ่มต้นจากระดับ 3 โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีข้อหารือว่า การโอนพนักงานส่วนตำบลที่มีสายงานเริ่มต้นจากระดับ 2 ไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสายงานเริ่มต้นจากระดับ 3 ซึ่งเป็นสายงานเริ่มต้นต่างระดับกัน สามารถกระทำได้หรือไม่ นั้น ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ.กำหนด สำหรับ ก.อบต.จังหวัดหนองคายในฐานะองค์กรที่ให้ความเห็นชอบการขอโอนดังกล่าว ก็ชอบที่พิจารณาให้เป็นไปภายใต้องค์ประกอบของประกาศ ก.อบต.จังหวัดหนองคาย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ข้อ 178 ทวิ กรณีการโอนพนักงานส่วนตำบลเป็นข้าราชการประเภทอื่นต่อไป จึงให้แจ้งจังหวัดหนองคายต่อไป
หารือการรับโอนข้าราชการประเภทอื่นมาดำรงตำแหน่งก่อน ก.อบต. จังหวัดให้ความเห็นชอบ
(เรื่องเพื่อทราบ) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายของพนักงานส่วนตำบล (อ.ก.อบต.กฎหมาย) ครั้งที่ 3/2552 วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2552 พิจารณาแล้วมีความเห็นเบื้องต้น ดังนี้ (เอกสาร 4)
กรณีหารือมีประเด็นที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้น คือ การรับโอนจ่าสิบเอกพงษ์ศักดิ์ ลิ้มศุภรัตน์ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรที่ 149/2548 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2548 โดยที่คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรี) ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบนั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามข้อ 180 แห่งประกาศ ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล กำหนดไว้ว่าในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจขอรับโอนข้าราชการประเภทอื่นที่มีความประสงค์จะขอโอนมาแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลในตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบลเสนอ ก.อบต.จังหวัด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลความจำเป็น ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การทำงานและความชำนาญการของผู้ที่จะขอโอนและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ เมื่อ ก.อบต.จังหวัด ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสั่งรับโอน ส่วนจะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและจะได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.อบต.จังหวัด เป็นผู้กำหนด ประกอบกับเมื่อได้พิจารณาตามมาตรา15 ประกอบมาตรา 25 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ที่กำหนดสรุปได้ว่า การออกคำสั่งเกี่ยวกับการรับโอน ให้เป็นอำนาจของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อบต.จังหวัดกำหนด แต่สำหรับการออกคำสั่งแต่งตั้งและการให้พนักงานส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.อบต.จังหวัดก่อน จึงเห็นว่าคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถรที่ 149/2548 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2548 ที่รับโอนจ่าสิบเอกพงษ์ศักดิ์ ลิ้มศุภรัตน์ มาเป็นพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถร ตำแหน่ง ช่างโยธา 2 อัตราเงินเดือน 14,780 บาท โดยที่ ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรียังไม่ได้ให้ความเห็นชอบก่อน เป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อ 180 แห่งประกาศ ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรีฯ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าในการประชุม ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2549 ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีมติเห็นชอบให้รับโอนจ่าสิบเอกพงษ์ศักดิ์ ลิ้มศุภรัตน์ พลประจำรถราดน้ำฯ มาดำรงตำแหน่งนายช่างโยธาระดับ 2 กรณีจึงต้องตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง (4) แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กล่าวคือ กรณีที่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน ถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลังแล้วไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์ ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือเป็นเจ้าหน้าที่และมีอำนาจทางปกครองในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมายได้ให้ความเห็นชอบในการโอนนั้นในภายหลังแล้ว คำสั่งที่ 149/2548 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ที่รับโอนข้าราชการรายนี้ จึงสมบูรณ์โดยไม่ต้องออกคำสั่งใหม่อีก
หารือการขอแก้ไขคำสั่งรับโอนภายหลัง ก.อบต.จังหวัด ให้ความเห็นชอบการรับโอน
คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายของพนักงานส่วนตำบล (อ.ก.อบต.กฎหมาย) ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2552 พิจารณาตามข้อเท็จจริงที่หารือ สรุปได้ว่า อบต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ ได้ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จากบัญชีของ ก.อบต.จังหวัดพิษณุโลก ตำแหน่งเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ 2 ต่อมา ก.อบต.จังหวัดพิษณุโลก ได้อนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ รายนางชริญญา น้อยคำภา ผู้สอบแข่งขันได้ในลำดับที่ 156 และ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เห็นชอบให้ อบต.ห้วยมุ่นฯ บรรจุแต่งตั้งนางชริญญาฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2551
แต่เนื่องจากนางชริญญาฯ เป็นพนักงานส่วนตำบลในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ ระดับ 1 สังกัด อบต.ขะเนจื้อ จ.ตาก ก.อบต.จังหวัดตาก ในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 จึงได้มีมติเห็นชอบให้นางชริญญาฯ พ้นจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ ระดับ 1 อบต.ขะเนจื้อ เพื่อโอนไปดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุ ระดับ 2 อบต.ห้วยมุ่น
ต่อมา อบต.ห้วยมุ่น จ.อุตรดิตถ์ ได้ออกคำสั่งรับโอนนางชริญญาฯ มาดำรงตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุ ระดับ 2 ตามมติ ก.อบต.จังหวัดตาก จึงขอยกเลิกมติ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีมติเห็นชอบให้บรรจุแต่งตั้งนางชริญญาฯ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2551 โดยเห็นว่าพนักงานส่วนตำบลรายดังกล่าวมีความประสงค์ขอโอนโดยผลการสอบแข่งขันได้ เพื่อนับอายุราชการต่อเนื่อง
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ จึงหารือว่า ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์จะพิจารณาให้ความเห็นชอบในการรับโอนพนักงานส่วนตำบลรายดังกล่าวโดยให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ มีมติเห็นชอบให้บรรจุแต่งตั้งเพื่อให้ข้าราชการผู้นี้ นับอายุราชการต่อเนื่องได้หรือไม่
กรณีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่า คำสั่ง อบต.ห้วยมุ่น ที่ 028/2551 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ที่รับโอนนางชริญญาฯ มาดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุ ระดับ 2 สังกัด อบต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามหนังสือ ก.อบต.จังหวัดพิษณุโลก ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2550 ที่อนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ประกอบหนังสือ อบต.ห้วยมุ่น ที่ 7201/396 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2550 และหนังสืออำเภอน้ำปาด ที่ มท 0886.10/390 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ที่ขอใช้บัญชีสอบแข่งขันจาก ก.อบต.จังหวัดพิษณุโลก เป็นการแสดงเจตจำนงเพื่อขออนุญาตใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่ง เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ระดับ 2 มาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลของ อบต.ห้วยมุ่นฯ มิใช่เป็นกรณีที่ขอรับโอน กรณีจึงไม่อาจนำความในข้อ 166 (2) แห่งประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่กำหนดสรุปได้ว่า ในการโอนพนักงานส่วนตำบลผู้สอบแข่งขันได้กรณีการโอนต่างจังหวัดกัน ให้ อบต.ที่จะรับโอนมีหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะรับโอน โดยความเห็นชอบของ ก.อบต.จังหวัด (ในกรณีนี้คือ อบต.ห้วยมุ่น และ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ตามลำดับ) ให้ อบต. ของผู้ที่จะโอนทราบ (ในกรณีนี้คือ อบต.ขะเนจื้อ) และให้ อบต.ของผู้ที่โอนเสนอเรื่องการให้โอนพนักงานส่วนตำบลให้ ก.อบต.จังหวัด (ในกรณีนี้คือ ก.อบต.จังหวัดตาก) พิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนั้น เมื่อ อบต.ห้วยมุ่น มิได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กฎบังคับให้ต้องกระทำก่อนการรับโอน กล่าวคือ ต้องให้
ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้ความเห็นชอบก่อนขอรับโอน คำสั่งที่ 028/2551 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
ที่มิได้ดำเนินการให้ครบถ้วนตามกฎ ซึ่งกำหนดขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการโอนในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคำสั่งรับโอนดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยฝ่าฝืนขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ กรณีจึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ จะต้องดำเนินการยกเลิกมติของตน ซึ่งดำเนินการโดยชอบ แล้วมีมติใหม่เพื่อรองรับการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายของ อบต.ห้วยมุ่น ตามที่หารือมา ดังนั้น ต่อข้อหารือที่ว่า ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ จะเห็นชอบตามข้อหารือได้หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอีก
ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า กรณีที่หารือมานี้ ควรแจ้งให้ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ ทราบว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์กำหนดไว้ ฉะนั้น จึงเป็นกรณีที่ ก.อบต.จังหวัดอุตรดิตถ์ สมควรจะพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่เสียก่อน หากมีข้อสงสัยหรือพบปัญหาอุปสรรคที่ไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงสมควรหารือมายัง ก.อบต. ต่อไป จึงให้แจ้งจังหวัดอุตรดิตถ์ และให้นำเสนอ ก.อบต. เพื่อทราบ
ครั้งที่ 8/2552
วันที่ 28 สิงหาคม 2552 หารือการรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหาร อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า
1. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานทั่วไป ระดับ 7 ของเทศบาลและ
องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
1.1 ในฐานะหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลและผู้อำนวยการกองและ
1.2 ในฐานะหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานทั่วไป 7) ซึ่งตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายของเทศบาลเป็นตำแหน่งที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักตามโครงสร้างส่วนราชการของเทศบาล แต่เป็นตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย จึงมิได้เป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการตามโครงสร้างส่วนราชการของเทศบาล
สำหรับคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานทั่วไป ระดับ 6 ของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล มิได้แบ่งระดับของตำแหน่งแยกเป็นในฐานะหัวหน้าสำนักปลัด ผู้อำนวยการกองและหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานทั่วไป ระดับ 6) ไว้ ดังนั้น ตำแหน่งสายงานนักบริหารงานทั่วไป ระดับ 6 ของเทศบาลและขององค์การบริหารส่วนตำบล จึงถือเป็นตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 6 ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จึงเป็นกรณีที่สามารถรับโอนได้ตามข้อ 153 (1) แห่งประกาศ ก.อบต.จังหวัดนนทบุรี เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2550
2. ตามข้อ 1 เมื่อคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานทั่วไป
ระดับ 7) ของเทศบาล มิได้เป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ของนักบริหารงานทั่วไป ระดับ 7 ก็ได้แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายและตำแหน่งหัวหน้าสำนักปลัดไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงไม่สามารถรับโอนมาดำรงตำแหน่งในฐานะหัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (นักบริหารงานทั่วไป ระดับ 7) ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ตามข้อ 153 (1) แห่งประกาศ ก.อบต.จังหวัดนนทบุรี เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2550
3. อ.ก.อบต.โครงสร้าง มีความเห็นเพิ่มเติมว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
และลดข้อหารือเห็นควรแจ้งเวียนในเรื่องตำแหน่งสายงานนักบริหาร... ระดับ 6 นั้น ให้เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ซึ่งมิได้กำหนดแยกประเภทตำแหน่งออกเป็นหัวหน้าฝ่ายและหัวหน้าส่วนราชการ จึงถือว่า ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายระดับ 6 และหัวหน้าส่วนราชการ ระดับ 6 เป็นกลุ่มตำแหน่งเดียวกันที่อาจโอน รับโอน ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามหมวดการโอน การรับโอนได้
หารือกรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลครบวาระการดำรงตำแหน่ง 1. กรณีกรรมการตามองค์ประกอบของ ก.อบต.จังหวัด ไม่มีหรือพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งจะเป็นผลให้การจัดประชุม ก.อบต.จังหวัด สามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากองค์ประกอบหลัก ตามที่กฎหมายบัญญัติกล่าวคือ หาก ก.อบต.จังหวัด ยังคงมีกรรมการที่เป็นผู้แทนส่วนราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล ครบทั้ง 3 องค์ประกอบ และมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง แม้ว่าองค์ประกอบผู้แทน อบต. จะไม่มีนายก อบต. เนื่องจากครบวาระการดำรงตำแหน่งทั้ง 3 คน ก็อาจประชุม ก.อบต.จังหวัด ได้ เพราะองค์ประกอบหลักครบถ้วน และมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
2. ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทน
องค์การบริหารส่วนตำบลและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วน
จังหวัด คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล พ.ศ.2543 และ
ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ข้อ 3 กรณีองค์ประชุมกึ่งหนึ่งของนายก อบต. ในจังหวัดนั้น หมายถึง
จำนวนนายก อบต. เท่าที่มีอยู่จริง ในขณะที่จัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนนายก อบต.
หารือการขอรับบำเหน็จของพนักงานส่วนตำบล นางเฌอกาญจน์ บัวอุไร ใช้วุฒิการศึกษาปลอมในการบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบล เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 ถือว่า นางเฌอกาญจน์ฯ เข้ารับราชการโดยไม่สุจริตและไม่มีสถานะเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นมาตั้งแต่เริ่มแรก สำหรับการได้รับบำเหน็จบำนาญหรือไม่นั้น ให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2550
เป็นผู้ดำเนินการต่อไป
พ.ร.ฎ.เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 มติ ก.อบต. ครั้งที่ 7/2547 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ได้กำหนดมาตรฐานทั่วไป
เกี่ยวกับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ สรุปได้ ดังนี้
1. กรณีกระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดให้สำนักงานของหน่วยราชการใดเป็นสำนักงานในพื้นที่พิเศษให้ อบต.ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเดียวกับที่ตั้งของสำนักงานดังกล่าวสามารถเสนอ ก.อบต.จังหวัดพิจารณาประกาศกำหนดเป็นสำนักงานในพื้นที่พิเศษ โดยให้ได้รับเงินสวัสดิการในอัตราเดือนละ 1,000 บาท
2. ให้ ก.อบต.จังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดสำนักงาน อบต.
เป็นสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.ฎ.เงินสวัสดิการสำหรับปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ.2544
การรับโอนพนักงานส่วนตำบลจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า การโอนพนักงานส่วนตำบลจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบลอีกแห่งหนึ่ง สามารถโอนและแต่งตั้งจากพนักงานส่วนตำบลได้จากผู้สอบแข่งขันได้ ในตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของกระทรวง ทบวง กรม ที่มีพนักงานส่วนตำบลไปสอบขึ้นบัญชีไว้ในตำแหน่งเดียวกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งที่ว่างได้ ในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับเดิมตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การย้ายหรือโอนพนักงานส่วนตำบลหรือรับโอนข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลจากผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้สอบคัดเลือกได้ ลงวันที่ 8 มีนาคม 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ 27 มีนาคม 2549 ประกอบกับประกาศ ก.อบต. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานส่วนตำบล (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 25 เมษายน 2550
ดังนั้น กรณีข้อหารือเป็นเรื่องการรับโอนพนักงานส่วนตำบลจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลใน อบต. อีกแห่งหนึ่ง โดยเป็นการเปลี่ยนสายงานจากสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 คือ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ 4 เพื่อไปดำรงตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ซึ่งเป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้จากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3 ซึ่งอาจกระทำได้โดยให้นับอายุราชการต่อเนื่องได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของกระทรวง ทบวง กรม ในตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้งจะต้องเป็นกรณี อบต. หรือคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
หารือการแก้ไขปัญหาการอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ
อบต.วังน้ำเขียว จังหวัดนครปฐม (กรณีจังหวัดเลยและจังหวัดพะเยา)
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.กฎหมาย ในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ 6/2550 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ครั้งที่ 7/2550 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2550 ที่พิจารณาว่า การอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ซึ่งแจ้งให้ผู้สอบแข่งขันได้ทุกคนลงนามในบันทึกยินยอมหรือสละสิทธิ์ล่วงหน้า เพื่อให้มีการเรียกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้โดยไม่เรียงตามลำดับที่นั้น เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบ จึงได้มีมติกำหนดมาตรการแนะนำเพื่อเยียวยาผู้สอบแข่งขันได้นั้น เป็นกรณีที่ ก.อบต. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 (10) ประกอบมาตรา 26 วรรคท้าย กล่าวคือ ให้ข้อคิดหรือให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) เมื่อพิจารณาเห็นว่า ก.อบต.จังหวัดทั่วประเทศได้ให้ความเห็นชอบบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบลที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียวโดยไม่เรียงตามลำดับที่ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบตามมาตรฐานทั่วไปที่กำหนดให้บรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่
ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพราะฉะนั้น ก.อบต.จึงต้องแจ้งให้ ก.อบต.จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 19 วรรคสอง ประกอบมาตรา 26 วรรคท้าย และได้แจ้งให้ทุกจังหวัดทราบแล้วตามหนังสือสำนักงาน ก.อบต. ที่ มท 0809.2/ว 125 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2550
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับสถานะและความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจะบริบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การบรรจุและแต่งตั้งที่ดำเนินการข้ามลำดับที่ที่สอบแข่งขัน ถือว่าเป็นการบรรจุและแต่งตั้งโดยมิชอบ เป็นผลให้ผู้นั้นยังไม่มีสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาตั้งแต่เริ่มแรก สิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการขณะนั้น จึงยังไม่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้น สถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจะเริ่มต้น ณ วันที่มีการบรรจุและแต่งตั้งครั้งใหม่และสิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นย่อมเริ่มต้นใหม่นับตั้งแต่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยชอบเช่นเดียวกัน
1. กรณี ก.อบต.จังหวัดเลย
ประเด็นหารือที่ 1 กรณี ก.อบต.จังหวัด มีมติบรรจุแต่งตั้งครั้งใหม่ ก.อบต.จังหวัด จำเป็นต้องยกเลิกมติ ก.อบต.จังหวัด ในการบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นโดยมิชอบในครั้งก่อนหรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อ ก.อบต.จังหวัดเลย ได้มีมติบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบล
ครั้งใหม่แล้ว ตามหลักกฎหมายทั่วไป มติครั้งหลังสุดย่อมเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมติในการเห็นชอบบรรจุแต่งตั้งในครั้งแรกโดยปริยาย แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกหรือเพื่อความถูกต้องเข้าใจตรงกัน ก.อบต.จังหวัดเลย อาจพิจารณาให้ความเห็นชอบครั้งใหม่เพื่อเพิกถอนมติเดิมเสียก็ได้
ประเด็นหารือที่ 2 และที่ 3 กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รับโอนบุคคลที่บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว และหรือกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บรรจุแต่งตั้งบุคคลจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว และต่อมาได้มีการ(โอน)ย้ายพนักงานส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งอื่น ในกรณีดังกล่าว ตามหนังสือสั่งการได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัดปัจจุบันจะต้องบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ และหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปัจจุบันไม่มีตำแหน่งดังกล่าวในแผนอัตรากำลัง 3 ปี ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ต้นสังกัดปัจจุบันจะต้องดำเนินการปรับปรุงแผนอัตรากำลัง 3 ปี ก่อนหรือไม่ และจะสามารถบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นในตำแหน่งที่เกื้อกูลกันกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ ได้หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า การบรรจุแต่งตั้ง
ผู้สอบแข่งขันได้ตามบัญชีที่จัดเรียงใหม่ หากไม่มีตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ในแผนอัตรากำลัง 3 ปี องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัด อาจปรับปรุงแผนอัตรากำลังได้ตามความเหมาะสม โดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จังหวัด) ตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผน
อัตรากำลังพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2545 ข้อ 2.7 กำหนดว่า
หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแผนอัตรากำลังในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาของแผน เช่น มีการถ่ายโอนบุคลากรจากส่วนกลางมาสู่องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นจำนวนมาก องค์การบริหารส่วนตำบลอาจปรับปรุงแผนอัตรากำลังได้ตามความเหมาะสม โดยความเห็นชอบของ
ก.อบต.จังหวัด ส่วนกรณีที่จะบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกันได้หรือไม่นั้น ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็น
พนักงานส่วนตำบล พ.ศ. 2549 ข้อ 19 กำหนดว่า การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล
เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในองค์การบริหารส่วนตำบล ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้นหรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิ ตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับคุณวุฒิที่ผู้นั้นนำมาสมัครสอบแข่งขัน และเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกัน ตามที่คณะกรรมการกลางพนักงาน
ส่วนตำบลกำหนด โดยต้องเรียกบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ กรณีนี้จึงชอบที่จะ
บรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันได้สรุป คือ โดยหลักการจะบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น หากไม่สามารถบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งนั้น ก็ต้องบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน และหากไม่สามารถบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งอื่นดังกล่าวได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัดอาจดำเนินการปรับปรุงแผนอัตรากำลัง 3 ปี เพื่อกำหนดตำแหน่งใหม่เป็นการเฉพาะตัวได้
ประเด็นหารือที่ 4 ในการออกคำสั่งบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ต้องมี
การสั่งให้บรรจุแต่งตั้งใหม่ในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ ตามที่ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม ได้จัดเรียงวันที่
อาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งไว้แล้วนั้น ในขั้นตอนการปฏิบัติจะต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เสนอเรื่องเข้ามา เพื่อให้ ก.อบต.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือ ก.อบต.จังหวัด สามารถให้
ความเห็นชอบได้เลยหรือไม่ เมื่อความปรากฏต่อ ก.อบต.จังหวัดใด ก.อบต.จังหวัดนั้น ต้องแจ้งให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องทราบถึงความบกพร่อง ผิดพลาดในการบรรจุแต่งตั้ง แล้วให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เสนอเรื่องมาให้ ก.อบต.จังหวัด พิจารณาดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเด็นหารือที่ 5 , 6 และ 7 กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกคำสั่งบรรจุแต่งตั้งใหม่ตามมติ ก.อบต.จังหวัดแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องดำเนินการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของพนักงานส่วนท้องถิ่นใหม่ และประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน และพิจารณาเลื่อนพนักงานส่วนท้องถิ่นขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นใหม่หรือไม่ หรือสามารถใช้ผลการประเมินฯ เดิมได้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องพิจารณาคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของพนักงานส่วนท้องถิ่นใหม่หรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถือเป็นหน้าที่ที่ต้องมีการดำเนินการ เมื่อพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้นยังไม่มีสถานะความเป็นข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่น จึงถือว่ายังไม่มีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาก่อน ย่อมเป็นหน้าที่ที่ต้องให้พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งใหม่โดยชอบ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนก็เช่นกัน ถือเป็นสิทธิและหน้าที่ของพนักงานส่วนท้องถิ่น ผู้นั้นที่จะต้องได้รับการประเมินเมื่อมีการบรรจุและแต่งตั้งใหม่โดยชอบ ส่วนการประเมินบุคคลเพื่อเลื่อนพนักงานส่วนตำบลขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นนั้น ต้องพิจารณาจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้นว่าบริบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใด เมื่อปรากฏว่าการบรรจุแต่งตั้งในครั้งก่อนเป็นการบรรจุและแต่งตั้งโดยมิชอบเป็นผลให้ผู้นั้นยังไม่มีสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาแต่เริ่มแรก สิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นขณะนั้นจึงยังไม่เกิดขึ้น จึงถือว่าพนักงานส่วนตำบลผู้นี้ยังไม่ได้รับการประเมินมาก่อน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการประเมินพนักงานส่วนตำบลผู้นั้นใหม่นับแต่ได้มีการบรรจุและแต่งตั้งใหม่โดยชอบ (ตามมติ อ.ก.อบต.กฎหมาย ในการประชุมครั้งที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551)
ประเด็นหารือที่ 8 การเบิกค่าเช่าบ้านของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอน (ย้าย) ไปดำรงตำแหน่งที่ใหม่แล้ว จะได้รับสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านได้ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกคำสั่งบรรจุแต่งตั้งใหม่ตามมติ ก.อบต.จังหวัดแล้ว จะมีผลทำให้สิทธิประโยชน์ในการเบิกค่าเช่าบ้านของพนักงานส่วนท้องถิ่นดังกล่าวหมดลงหรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า สิทธิประโยชน์ในการเบิกค่าเช่าบ้านนั้น หากเป็นสิทธิที่ได้รับในสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ต้องพิจารณาว่าสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้นั้นบริบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใด เมื่อปรากฏว่าการบรรจุแต่งตั้งในครั้งก่อนเป็นการบรรจุและแต่งตั้งโดยมิชอบเป็นผลให้ผู้นั้นยังไม่มีสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาแต่เริ่มแรก สิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นขณะนั้นจึงยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น กรณีที่หารือมานี้สถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจึงเริ่มต้น ณ วันที่มีการบรรจุและแต่งตั้งใหม่โดยชอบ และสิทธิประโยชน์อันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นย่อมต้องเริ่มต้นใหม่ นับแต่ผู้นั้นได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยชอบ สำหรับสิทธิที่จะได้รับเงินสวัสดิการค่าเช่าบ้านหรือไม่ จะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการเบิกเงินค่าเช่าบ้าน
2. กรณี ก.อบต.จังหวัดพะเยา
กรณีข้อหารือพิจารณาได้ว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะนั้นองค์การบริหารส่วนตำบล แม่นาเรือ ได้มีหนังสือขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว เพื่อมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ระดับ 1 และองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียวในฐานะเจ้าของบัญชีก็ได้อนุญาตให้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน ระดับ 3 รายนางสาวฤหทัย หวานใจ ลำดับที่ 901 ไปบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ระดับ 1 ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ ที่ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ว่างในแผนอัตรากำลัง 3 ปี และเป็นไปโดยความสมัครใจของนางสาวฤหทัย หวานใจ ที่ประสงค์จะบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้น จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่นางสาวฤหทัย หวานใจ จะอ้างความไม่สมัครใจมาเป็นเหตุไม่บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งเดิมเพื่อให้ตนได้ประโยชน์กว่าที่พึงได้รับจากมาตรการเยียวยาให้มีการบรรจุและแต่งตั้งให้ถูกต้องเสียใหม่ในครั้งนี้

ข้อคิดเห็นในที่ประชุม
1. ที่ประชุมได้อภิปรายเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาการอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อบต.วังน้ำเขียว แล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวและป้องกันมิให้ผู้ที่บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีของ อบต.วังน้ำเขียว ได้รับผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด อันจะเป็นผลให้ผู้นั้นไม่มีสถานะความเป็นพนักงานส่วนตำบลอย่างถูกต้อง สมบูรณ์ สมควรมีการสำรวจผลการดำเนินการ โดยให้ ก.อบต.จังหวัด ทุกจังหวัด ยืนยันความถูกต้องของบุคคลที่บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อบต.วังน้ำเขียว
หารือการเลื่อนระดับกรณีการย้ายเปลี่ยนสายงานของพนักงานส่วนตำบล
ที่บรรจุแต่งตั้งไม่ตรงตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้หรือตำแหน่งอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน ภายหลังวันที่
24 กุมภาพันธ์ 2549
อ.ก.อบต.กฎหมาย ในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีการย้ายเปลี่ยนสายงานของพนักงานส่วนตำบลที่บรรจุและแต่งตั้งไม่ตรงกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้หรือตำแหน่งอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันภายหลังวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และได้รับการเยียวยาให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ หรือตำแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันตามมติ ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ซึ่งต่อมาพนักงานส่วนตำบลรายดังกล่าวจะขอย้ายเปลี่ยนสายงานกลับไปดำรงตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในครั้งแรกเพื่อจะได้ดำเนินการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดได้หรือไม่นั้น เห็นว่าการย้ายพนักงานส่วนตำบลผู้ดำรงตำแหน่งหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกตำแหน่งหนึ่งในองค์การบริหารส่วนตำบลเดียวกัน โดยความเห็นชอบของ ก.อบต.จังหวัด สามารถดำเนินการได้เมื่อมีตำแหน่งว่าง โดยให้พิจารณาเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญตามประกาศ ก.อบต.จังหวัดเพชรบุรี เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2545 หมวด 6 ว่าด้วยการย้าย
ดังนั้น การย้ายพนักงานส่วนตำบลที่ได้รับการเยียวยากรณีการบรรจุแต่งตั้งใน
ตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันกลับไปดำรงตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งในครั้งแรก จึงสามารถกระทำได้
โดยต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการย้ายดังกล่าว
สำหรับกรณีการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นนั้น การพิจารณานับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง จึงย่อมบริบูรณ์เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งใหม่โดยชอบแล้ว โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ ผู้นั้นดำรงตำแหน่งที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน

ครั้งที่ 9/2552
วันที่ 25 กันยายน 2552 หารือแนวทางปฏิบัติกรณีนายอำเภอมอบอำนาจให้ท้องถิ่นอำเภอ
เข้าร่วมประชุม ก.อบต.จังหวัด แทน คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายของพนักงานส่วนตำบล (อ.ก.อบต.กฎหมาย) ในการประชุมครั้งที่ 4/2252 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามองค์ประกอบที่กำหนดไว้ในมาตรา 25(2) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลประกอบด้วย นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด จำนวนแปดคน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น องค์ประกอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล
(ก.อบต.จังหวัด) ในส่วนนี้คือ (1) นายอำเภอ หรือ (2) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด รวมจำนวนแปดคน
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ นายอำเภอที่ได้รับการแต่งตั้งสามารถมอบให้ท้องถิ่นอำเภอมาร่วมประชุม ก.อบต.จังหวัด แทนได้หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 กำหนดให้อำนาจในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใดหรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น มิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นหรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 กำหนดให้ การมอบอำนาจต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 และหากเป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 6 ผู้มอบอำนาจอาจไม่มอบอำนาจเรื่องดังกล่าวก็ได้ ดังนั้น หากเป็นกรณีที่นายอำเภอผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการใน ก.อบต.จังหวัด พิจารณาแล้วเห็นว่า การมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่นไปร่วมประชุม ก.อบต.จังหวัด แทน เป็นการมอบอำนาจได้และการมอบอำนาจเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 และไม่ต้องด้วยเงื่อนไขตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน นายอำเภอผู้ได้รับการแต่งตั้งอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นไปปฏิบัติราชการแทนได้ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายฉบับดังกล่าว
หากนายอำเภอผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการใน ก.อบต.จังหวัด พิจารณาแล้วเห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องด้วยเงื่อนไขตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจฯ กล่าวคือ อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญ หรือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นายอำเภอผู้นั้นอาจพิจารณาไม่มอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นไปปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ปัญหาการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 คณะที่ 2 และคณะที่ 11) ได้พิจารณาทบทวนปัญหาข้อหารือของสำนักงาน ก.พ. โดยมีผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงาน ก.พ.) และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า การที่มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยซึ่งได้รับโทษหรือทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ได้บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัยหรือผู้ที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษไปแล้ว โดยให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยอีกนั้น ย่อมมีความหมายว่าพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ มีความประสงค์ที่จะให้ลบล้างมลทินการถูกลงโทษทางวินัยหรือการดำเนินการทางวินัยที่ยุติแล้ว ให้มีผลเป็นที่สิ้นสุด โดยไม่อาจหยิบยกการถูกลงโทษทางวินัยหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นขึ้นพิจารณาดำเนินการใหม่เพื่อลงโทษทางวินัยหรือดำเนินการทางวินัยจากมูลเหตุเดียวกันนั้นได้อีก ไม่ว่าการลงโทษหรือ
การดำเนินการทางวินัยนั้นจะเป็นการกระทำโดยกฎหมายใด ถ้าอยู่ในเงื่อนไขตามพระราชบัญญัตินี้ย่อมได้รับผลจากการล้างมลทินเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาตามข้อหารืออาจมีกรณีข้อเท็จจริงแตกต่างกันเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการทางวินัย จึงเห็นควรพิจารณาเป็นแต่ละกรณี ดังต่อไปนี้
1. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาและสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย หรือสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษไปแล้ว ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดไปยังผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ว่าข้าราชการดังกล่าวกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยชี้มูลก่อนวันที่ 5ธันวาคม 2550
ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ในขณะที่ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีนี้จะต้องดำเนินการทางวินัยตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลหรือไม่
กรณีนี้เห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชา และมีคำสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย หรือมีคำสั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษ ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ ผู้นั้นย่อมได้รับประโยชน์จากการล้างมลทิน เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีผลให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป อันเป็นผลทางกฎหมายที่บัญญัติรับรองไว้ ดังนั้น แม้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง ตามมาตรา 92 แห่งระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แต่เมื่อผู้นั้นได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาจึงไม่สามารถดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้อีกต่อไป
2. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้นั้น
ได้รับโทษทั้งหมดหรือบางส่วนแล้ว ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรง
แต่ในระหว่างที่ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการอยู่นั้น พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ กรณีนี้จะได้รับ
การล้างมลทินหรือไม่
กรณีนี้เห็นว่า ผู้ถูกดำเนินการทางวินัยเป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 เมื่อผู้นั้นได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเป็นไปตามเงื่อนไขที่ทำให้ได้รับการล้างมลทิน ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว จึงไม่อาจดำเนินการทางวินัยกับผู้นั้นได้อีกต่อไป
3. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วแต่ผู้นั้นยังไม่ได้รับโทษทางวินัย ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรงตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ในระหว่างที่ผู้บังคับบัญชากำลังดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ กรณีนี้จะได้รับการล้างมลทินหรือไม่
กรณีนี้เห็นว่า หากผู้ถูกดำเนินการทางวินัยยังไม่ได้รับโทษทางวินัยตามเงื่อนไขที่จะทำให้ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 จึงทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น จึงดำเนินการทางวินัยกับผู้นั้นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติต่อไปได้
4. กรณีที่มีการดำเนินการทางวินัยแล้ว แต่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ออกจากราชการ
อันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย หรือสั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษ ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรงภายหลังจากที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ กรณีนี้จะได้รับการล้างมลทินหรือไม่
กรณีนี้เห็นว่า ผู้ถูกดำเนินการทางวินัยอยู่ในเงื่อนไขที่ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา
80 พรรษา พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลทำให้ไม่อาจดำเนินการเพิ่มโทษหรือดำเนินการทางวินัยในมูลกรณีเดียวกันได้
อีกต่อไป ดังนั้น ภายหลังจากที่ผู้นั้นได้รับผลจากการล้างมลทินแล้ว แม้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรง ตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ก็ตาม ผู้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้อีกต่อไป รายละเอียดปรากฏตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 234/2552 เรื่อง ขอให้ทบทวนปัญหาการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550
อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ดังกล่าว เห็นควรส่งบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 234/2552 เรื่อง ขอให้ทบทวนปัญหาการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 ให้ประธาน ก.อบต.จังหวัดทุกจังหวัดทราบ และถือปฏิบัติต่อไป
พนักงานส่วนตำบลคลองหรังร้องขอความเป็นธรรมกรณีการเลื่อนระดับ และถูกดำเนินการทางวินัย
อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 พิจารณาแล้ว
1. กรณีการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงขึ้นในระดับควบของผู้ร้อง เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่านางสาวพิณรัตน์ฯ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 เป็นผู้มีคุณสมบัติครบเพื่อเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 5 ของสายงานนั้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2547 แต่หากนางสาวพิณรัตน์ฯ ได้ยื่นขอประเมินการเลื่อนระดับเสนอต่อผู้บังคับบัญชาภายหลังวันที่ตนมีคุณสมบัติครบฯ กรณีการเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งระดับ 5 ดังกล่าวย่อมต้องเป็นไปตามประกาศ ก.อบต.จังหวัดสงขลา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล เช่นเดิม
อนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ได้มีคำสั่งที่ 55/2551 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2551 เลื่อนระดับและแต่งตั้งนางสาวพิณรัตน์ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนระดับ 5 ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2551 เป็นต้นไปแล้ว
2. กรณีการดำเนินการทางวินัยผู้ร้องเป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษา วินัย และการดำเนินการทางวินัย หรือไม่
เห็นว่า เมื่อมีการกล่าวหาว่านางสาวพิณรัตน์ฯ พนักงานส่วนตำบลคลองหรัง กระทำผิดวินัย ฐานไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ต้องดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า และต้องแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา และเมื่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ได้ดำเนินการทางวินัยแก่นางสาวพิณรัตน์ฯ โดยสั่งลงโทษ หรือลงทัณฑ์หรืองดโทษตามข้อ 67 หรือสั่งยุติ เรื่อง ให้รายงาน
ไปยัง ก.ท.จ. เพื่อส่งเรื่องให้อนุวินัยฯ และการให้ออกจากราชการ ของ ก.ท.จ.สงขลา พิจารณาทำความเห็นเสนอ และเมื่อ ก.ท.จ.สงขลา พิจารณาเห็นว่าการลงโทษหรือลงทัณฑ์หรืองดโทษหรือสั่งยุติเรื่อง เป็นการไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมและมีมติเป็นประการใด ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรังสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ดังนั้นกรณีการดำเนินการทางวินัยนางสาวพิณรัตน์ฯ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง จึงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัยข้างต้น
อย่างเคร่งครัด
อนึ่ง กรณีตามคำร้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0809.8/ว 1092 ลงวันที่ 3 เม.ย. 2551 เรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องนำเรื่องเสนอ ก.จ.จ., ก.ท.จ. และ ก.อบต.จังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณา และเมื่อมีมติเป็นประการใดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ
ไปตามนั้น เห็นควรแจ้งให้ ก.อบต.จังหวัดสงขลา ดำเนินการตามหนังสือกระทรวง มหาดไทยดังกล่าวด้วย
หารือการพิจารณาหนังสือคัดค้านผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 พิจารณาแล้ว
จึงมีมติว่า มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย
ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเรื่องการคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นการเฉพาะ โดยในการพิจารณาหากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้สั่งแต่งตั้งเห็นว่าหนังสือคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ ให้สั่งให้ผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน หากเห็นว่าไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้ให้สั่งยกคำคัดค้านนั้น โดยให้สั่งการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือคัดค้าน ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผลในการพิจารณาสั่งการดังกล่าวด้วย พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ แล้วส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนโดยเร็ว ชึ่งหากพิจารณาความหมายของคำว่า “พร้อม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 นั้น หมายถึง ในเวลาเดียวกัน ย่อมหมายความว่าต้องกระทำไปพร้อมกัน
กรณีตามที่หารือ แม้ว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยมนตรีได้พิจารณาและสั่งยกคำคัดค้านภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือคัดค้านก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าได้แจ้งผลการพิจารณาพร้อมทั้งเหตุผลในการยกคำคัดค้านให้ผู้ร้องทั้งสองทราบภายในกำหนดเวลา จึงไม่ครบขั้นตอนในการพิจารณาสั่งยกคำคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน ยังถือไม่ได้ว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยมนตรีได้พิจารณาและสั่งยกคำคัดค้านภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือคัดค้าน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาหลงต่อสู้และเข้าใจคลาดเคลื่อนถึงสถานะของกรรมการผู้ถูกคัดค้านได้ เมื่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยมนตรีไม่สั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งภายในสิบห้าวัน กรรมการสอบสวนผู้ถูกคัดค้านย่อมต้องพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวนตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับหนังสือคัดค้านกรรมการสอบสวน ทั้งนี้ตามข้อ 36 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย

หารือการใช้บัญชีสอบแข่งขันของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 25 เมษายน 2550 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถใช้บัญชีกระทรวง ทบวง กรม มาบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดียวกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 แต่เจตนารมย์ในการกำหนดให้ อบต. อาจขอใช้บัญชี ผู้สอบแข่งขันได้ของกระทรวง ทบวง กรม นั้น หมายถึง บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของหน่วยบริหารราชการส่วนกลางที่ดำเนินการเองหรือที่มอบอำนาจให้หน่วยงานอื่นดำเนินการสอบแข่งขันแทน
ดังนั้น บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบัญชี ผู้สอบแข่งขันได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทหนึ่ง มิใช่บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของกระทรวง ทบวง กรม ตามนัยประกาศ ก.อบต. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 25 เมษายน 2550
การเทียบตำแหน่งและระดับของข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการ
ส่วนท้องถิ่น
อ.ก.อบต.เทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ในการประชุมครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบลได้จำแนกตำแหน่งและระดับตามค่างาน (ระบบซี) ประกอบกับก่อนที่ ก.พ. จะดำเนินการปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งเป็นระบบแท่งก็ใช้ระบบพีซีมาก่อน ดังนั้น จึงควรนำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเทียบการดำรงตำแหน่งตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 เรื่องการเทียบการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เท่ากับการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาใช้เป็นแนวทางในการเทียบระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกับพนักงานส่วนตำบลเพื่อประโยชน์ในการโอน การรับโอน และการเลื่อนระดับที่สูงขึ้นโดยอนุโลม กล่าวคือ พิจารณาจากตำแหน่งและระดับเดิมของข้าราชการพลเรือนผู้นั้นก่อนปรับเข้าสู่ระบบแท่ง เป็นตำแหน่งและระดับที่จะรับโอนเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่สูงกว่าระดับเดิม ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหมวดรับโอน
กรณีชื่อตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ซึ่งปรับเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ปรับเป็น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรณีดังกล่าว ทำให้ชื่อตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังคงใช้ชื่อตำแหน่งเดิมของ ก.พ. นั้น เป็นตำแหน่งเดียวกันหรือประเภทเดียวกันหรือไม่นั้น ก็ให้ ก.อบต.จังหวัด ตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ถ้าคุณวุฒิตรงกับคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ ก.อบต. กำหนด และลักษณะงานของตำแหน่งเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.อบต. กำหนด
กรณีใดที่ไม่อาจเทียบการดำรงตำแหน่งในแต่ละประเภทและระดับได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าว ควรให้ อ.ก.อบต.เทียบการดำรงตำแหน่ง เสนอ ก.อบต. พิจารณาเป็นกรณีไป
กำหนด “หลักสูตรพัฒนาและเพิ่มทักษะคณะกรรมการสอบสวน” อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 และครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้นิติกรและพนักงานส่วนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาความรู้ด้านวินัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานอย่างทัดเทียมกับข้าราชการพลเรือน และสอดคล้องกับหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และหลักสูตรของสำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกา (คกก.) ซึ่งได้ฝึกอบรมไปแล้ว โดยใช้หลักสูตรของทั้ง 2 หน่วยงานเป็นหลักนำมาประยุกต์เป็นหลักสูตรเฉพาะให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีมติกำหนด “หลักสูตรพัฒนาและเพิ่มทักษะคณะกรรมการสอบสวน”
หลักเกณฑ์การโอนย้ายสับเปลี่ยนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหาร
ที่มีวาระการดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี ให้เชิญผู้แทนสมาคมมาประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นถึงข้อดี – ข้อเสียของมาตรการ ทั้งนี้ การประชุมในเดือนตุลาคม 2552 ให้ที่ประชุมมีมติ โดยไม่ต้องมีการอภิปรายอีกว่า
มาตรการวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีดังกล่าว จะยกเลิกหรือให้มีผลเป็นข้อแนะนำดังเดิมต่อไป
โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของพนักงานส่วนตำบล ปีงบประมาณ
พ.ศ.2553
พิจารณาแล้วเห็นว่า ก.อบต.จังหวัด ได้ตรวจสอบคุณสมบัติและจำนวนของผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้ว ประกอบกับมีงบประมาณเพียงพอสามารถที่จะจ่ายค่าตอบแทนได้ จึงเห็นควรพิจารณาดังนี้
1. เห็นชอบให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดได้ จำนวน 5 แห่ง . รวม 5 ราย ตามบัญชีหมายเลข 1
2. ไม่เห็นชอบให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีกลุ่มเป้าหมายไม่ครบตามหลักเกณฑ์ จำนวน 1 แห่ง รวม 1 ราย ตามบัญชีหมายเลข 2

ขอให้โอนพนักงานส่วนตำบลระหว่างจังหวัดกรณีเหตุขัดแย้ง
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552
พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 11)
พ.ศ.2550 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ได้กำหนดเงื่อนไขการพิจารณากรณีขอโอนระหว่างจังหวัด ให้ ก.อบต. เนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงหากปรากฏว่ามีเหตุอันสมควร ก.อบต. มติให้โอนหรือโอนสับเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลได้ แต่หากเหตุที่เกิดมิได้เป็นความผิดของพนักงานส่วนตำบลให้สอบถามความสมัครใจก่อน เมื่อ ก.อบต. พิจารณาแล้วเห็นสมควรมีมติเป็นประการใดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกี่ยวข้องสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้น
แต่จากข้อเท็จจริงในเบื้องต้นที่ ก.อบต.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รายงานขอให้ ก.อบต. เพื่อพิจารณาโอนระหว่างจังหวัดและส่งตัวผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทนนายจตุพร รักบำรุง ปลัด อบต.โมถ่าย นั้น เห็นว่า ยังไม่ปรากฏเหตุผลที่ชัดเจนว่าเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ อบต. หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ในการบริหาร แต่หากเป็นกรณีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการสอบสวนทางวินัยกับนายจตุพร รักบำรุง ดังนั้น
จึงมิใช่เหตุอันสมควรที่จะให้ ก.อบต. ใช้มาตรการบังคับด้วยการมีมติโอนหรือโอนสับเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลได้ หากแต่สมควรที่ ก.อบต.จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเร่งรัดทำความจริงให้ปรากฏและ
ใช้มาตรการทางการบริหารในการแก้ไขปัญหาต่อไป อันจะเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายต่อไป

ร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) แก่พนักงานส่วนตำบล
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552พิจารณาแล้วเห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 15 มาตรา 25 วรรคท้าย กำหนดให้การออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง การเลื่อนขั้น ฯลฯ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ให้เป็นอำนาจของนายก อบต. ดังนั้น อบต.บ้านหมอ จึงต้องจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นฯ ให้เป็นไปตามประกาศ ก.อบต.จังหวัด เรื่อง กำหนดเงื่อนไขและวิธีกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นฯ ข้อ 3.2
การขอกลับเข้ารับราชการของลูกจ้างประจำ
(เรื่องเพื่อทราบ) อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากตามข้อ 83 ของประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2547 กำหนดว่า “ในกรณีที่อัตราลูกจ้างตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลว่างลงในทุกกรณี ให้ยุบเลิกตำแหน่งนั้น” ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุผู้ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2545 ก็ไม่ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลสงวนตำแหน่งไว้ให้สำหรับผู้ที่ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นแต่อย่างใด ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้อย จึงไม่อาจที่จะกำหนดตำแหน่งลูกจ้างประจำเพิ่มใหม่เพื่อที่จะรับนางณัฐวรรณ อัจจาครุ กันศัสตราชัยศรี ในการขอกลับเข้ารับราชการเป็นลูกจ้างประจำ ในตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ได้
ครั้งที่ 10/2552
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2552 หารือการออกคำสั่งลงโทษ กรณีกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระ
อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า การพิจารณาว่าการดำเนินการทางวินัยในเรื่องใดเป็นเรื่องที่มีการกล่าวหาเรื่องเดียวกันหรือไม่นั้น ควรยึดหลักเจตนาของผู้กระทำและข้อเท็จจริงที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยเป็นเรื่องๆ ไป หากมีเจตนาเดียวต่อเนื่องกันก็ต้องถือว่าการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ในเรื่องเดียวกัน การดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษผู้กระทำในการกระทำนั้น ย่อมมีผลเป็นการผูกพันว่าการกระทำผิดแต่ละกรณีเป็นเรื่องเดียวกันตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. หนังสือ ที่ นร 0709.1/ล 90 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545
ดังนั้นกรณีตามที่หารือนี้หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนารายณ์
มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยนายสุธี ศรีเมืองสุข จากกรณีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค
ที่ 2 จังหวัดชลบุรี ตรวจสอบโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น หมู่ที่ 7 – 9 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะไชย โดยแยกกรณีกระทำความผิดเป็นสองกรณีต่างกัน ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยต่างกรรมต่างวาระ และต่างเจตนา เมื่อเห็นว่านายสุธีฯ ได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงในแต่ละกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย แต่เนื่องจากเป็นกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนารายณ์ จึงให้ว่ากล่าวตักเตือนทั้งสองกรณีย่อมสามารถที่จะกระทำได้ หากการลงโทษดังกล่าวรวมกันแล้วไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกรณีเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และเมื่อได้รายงานไปยัง ก.อบต.จังหวัดจันทบุรี เพื่อส่งเรื่องให้อนุวินัยฯ ตามข้อ 68 วรรคสี่ พิจารณาทำความเห็นเสนอ เมื่อ ก.อบต.จังหวัดจันทบุรี มีมติว่าการลงโทษไม่เหมาะสมและเพิ่มโทษเป็นตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือนในแต่ละกรณีย่อมสามารถจะกระทำได้เช่นเดียวกับกรณีข้างต้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาบนหลักของความยุติธรรมเป็นสำคัญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 0706/85298 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2520
หารือการดำเนินการทางวินัย กรณีการรอเลื่อนขั้นเงินเดือนและ
การเลื่อนระดับ อ.ก.อบต.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า
ประเด็นที่ 1 และ 2 นั้นเมื่อนางสาวสุกัญญาณี ลิ้มตานนท์ ถูกแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 และองค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี มีคำสั่งกันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ต่อมาผลการสอบสวนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2550 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลีมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือน นางสาวสุกัญญาณีฯ 5% เป็นเวลา 1 เดือน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป กรณีนี้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบล ข้อ 11 (2) ซึ่งกำหนดว่าให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้เพียงในครั้งที่จะถูกลงโทษตัดเงินเดือน ส่วนในครั้งอื่นให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปในแต่ละครั้งที่รอไว้เป็นหลักในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ คือจะต้องงดเลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นครั้งที่ถูกลงโทษทางวินัย ส่วนในครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่
1 เมษายน 2550 ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปได้
อนึ่ง เมื่อนางสาวสุกัญญาณีฯ ถูกลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไปหากได้รับโทษทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ย่อมได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ จึงทำให้นางสาวสุกัญญาณีฯ ไม่ต้องห้ามมิให้เลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่หนึ่งในวันที่ 1 เมษายน 2551 ตามข้อ 5 (2) ของประกาศหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนตำบล ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ได้หากนางสาวสุกัญญาณีฯ อยู่ในหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่อาจเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ได้ด้วย
สำหรับประเด็นสุดท้ายนางสาวสุกัญญาณีฯ จะได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ระดับ 7 หรือไม่นั้น เห็นว่าเมื่อนางสาวสุกัญญาณีฯ ไม่ต้องห้ามมิให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน 2551และมีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อ 193 ของประกาศ ก.อบต.จังหวัดสุพรรณบุรี เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี จึงอาจเลื่อนระดับให้ นางสาวสุกัญญาณีฯ ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นได้ตั้งแต่วันที่ผู้บังคับบัญชาอาจเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ได้เป็นต้นไป ตามข้อ 197 ของประกาศ ก.อบต.จังหวัดดังกล่าว
การกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับ หน่วยบริการในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล 1. อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า
1.1 ในปัจจุบันการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรด้านการแพทย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลยังมิได้มีการกำหนดไว้แต่อย่างใด คงมีแต่การกำหนดของเทศบาลเท่านั้น ซึ่งก็ยังไม่เท่าเทียมกับของส่วนราชการอื่น ทั้งที่การปฏิบัติหน้าที่ในด้านการดูแล รักษาผู้ป่วยและด้านการสาธารณสุข ได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับบุคลากรด้านการแพทย์ของส่วนราชการอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรด้านการแพทย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์ จึงเห็นควรกำหนดการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรด้านการแพทย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้ได้รับเท่าเทียมกับบุคลากรด้านการแพทย์ของส่วนราชการอื่น โดยกำหนดเป็นมาตรฐานทั่วไปให้นำข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2544 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
1.2 การกำหนดนิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่” ควรต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ สำหรับค่าใช้จ่ายด้านนี้ต้องไม่เกินกฎหมายกำหนด และอัตราการจ่ายควรใช้คำว่าไม่เกินอัตราที่กำหนด เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหากรณีที่ท้องถิ่นมีสถานะการคลังไม่เพียงพอ
2. ฝ่ายเลขานุการได้นำความเห็นของ อ.ก.อบต.โครงสร้างฯ ดังกล่าว มาเพิ่มเติมในประกาศเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดปรากฏตามร่างประกาศฯ แนบท้ายระเบียบวาระ
กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่เหตุพิเศษของข้าราชการ
ส่วนท้องถิ่น อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 7/2552 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ผู้ปฏิบัติงานลักษณะเดียวกับข้าราชการพลเรือนได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนประกอบกับ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบและประกาศของ ก.พ. ซึ่งถูกถ่ายโอนมายัง อปท. ยังคง
ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดิม จึงเห็นควรกำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ดังนี้
นิยาม
“เงินเพิ่ม” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการส่วนท้องถิ่นท้ายประกาศนี้
“เหตุพิเศษ” หมายความว่า การทำงานที่มีสภาพการทำงานไม่น่าอภิรมย์ ยากลำบากตรากตรำ เสี่ยงภัย เคร่งเครียด กดดันหรือเป็นการทำงานที่มีสภาพการทำงานเสี่ยงอันตรายทั้งต่อชีวิตร่างกาย อาจมีผลกระทบต่อร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคจากการปฏิบัติงาน การสูญเสียอวัยวะหรือเป็นการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์สูง ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลน มีการสูญเสียผู้ปฏิบัติงานออกจากระบบราชการเป็นจำนวนมาก
2. ให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
เป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษและให้ได้รับเงินเพิ่มตามหลักเกณฑ์และอัตราที่
กำหนดไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้
2.1 ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเป็นครูการศึกษาพิเศษ
สอนคนตาบอด สอนคนหูหนวก สอนคนร่างกายพิการทางแขนขาและลำตัว และคนปัญญาอ่อน ที่ปฏิบัติงานสอนใน
สถานศึกษาของ อปท. ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ค.ศ.”
2.2 ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์
โดยผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เนื่องจากเป็นคนพิการทางกาย ทางสมองและ
ปัญญาทางจิตประสาท เป็นคนชราที่เจ็บป่วยหรือหลงหรือเป็นคนไร้ที่พึ่งที่มีปัญหาด้านจิตประสาท ซึ่งใน
การปฏิบัติงานต้องดูแลให้การสงเคราะห์ ฟื้นฟูและพัฒนา โดยสัมผัสกับผู้รับการสงเคราะห์ที่ไม่สามารถ
ช่วยตัวเองได้โดยตรง ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.พ.”
2.3 ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ดำรงตำแหน่งในสายงานนิติการตำแหน่งนิติกร ระดับ
3-8 ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม สำหรับ
ตำแหน่งที่เหตุพิเศษ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ก.”
(ก) ผ่านการอบรมหลักสูตรพัฒนาและเพิ่มทักษะคณะกรรมการสอบสวนหรือหลักสูตร
นักกฎหมายภาครัฐหรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่า ซึ่ง ก.กลาง (ก.จ.,ก.ท. ,ก.อบต.) หรือ ก.พ. กำหนดหรือรับรอง
(ข) ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.กลาง กำหนด
(ค) ปฏิบัติงานด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจและยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือ
การดำเนินการทางวินัยหรือการดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง
(ง) ปฏิบัติงานหน้าที่หลักของตำแหน่งนิติกรที่ได้รับการแต่งตั้งตามที่ ก.กลางกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2.4 ยกเลิกประกาศ ก.อบต. เรื่อง กำหนดให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2548 และกำหนดให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายหรือนักวิชาการศึกษาพิเศษที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย นักกิจกรรมบำบัดหรือนักอาชีวบำบัดที่ปฏิบัติ
หน้าที่ด้านกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกหรือนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านจิตวิทยาคลินิกและนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยใช้ใบอนุญาตดังกล่าวปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการควบคุมป้องกันโรค ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือด้านการฟื้นฟูสภาพและได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบัญชีกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.”
3. ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ ก.อบต. ประกาศให้เป็นตำแหน่ง
ที่มีเหตุพิเศษ ผู้ใดปฏิบัติงานไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ผู้นั้นได้รับเงินเพิ่ม สำหรับเดือนนั้นตามส่วนของ
จำนวนวันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าในเดือนใดผู้ใดมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามลักษณะงานที่กำหนดในบัญชีท้าย
ประกาศนี้ ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม สำหรับเดือนนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีลาป่วยให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินหกสิบวัน
ทำการ เว้นแต่เป็นการป่วยอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ก.อบต. อาจกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มเกินหกสิบวัน
ทำการได้ ตามสมควรแก่กรณี
(2) กรณีลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
(3) กรณีลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวัน
ทำการ แต่สำหรับในปีแรกที่รับราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณนั้นไม่เกินสิบห้าวันทำการ
(4) กรณีลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้น
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลา
(5) กรณีลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมิใช่เป็นการลาภายในระยะเวลาสิบสองเดือนแรกที่เข้ารับราชการและตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน
(6) กรณีลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่าง
ลาได้ไม่เกินหกสิบวัน แต่ถ้าพ้นระยะเวลาที่ลาดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นไม่ไปรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่หลัก
ของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเพิ่มหลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติหน้าที่หลัก
(7) กรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติงานการวิจัย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน
4. ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่ง ก.อบต. พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ใน
ตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษนอกจาก ข้อ 2 อาจได้รับเงินเพิ่มตามที่ ก.อบต. กำหนด
ในกรณีข้าราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับเงินเพิ่มหลายอัตราให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มในอัตราที่สูงสุดเพียงอัตราเดียว
5. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้เสนอ ก.อบต. วินิจฉัยคำวินิจฉัยของ ก.อบต. ให้เป็นที่สุด
แนวทางการรับโอนข้าราชการประเภทอื่นมาบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงาน
ส่วนตำบลตำแหน่งบริหาร
1. อ.ก.อบต.โครงสร้างในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 พิจารณาว่าประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุ และแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ข้อ 21 (3) กำหนดกรณีการดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโดยวิธีการคัดเลือกเพื่อรับโอนข้าราชการประเภทอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นประเภทอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีลักษณะงานเทียบเคียงได้กับตำแหน่งบริหารที่จะรับโอน โดยมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการต้นสังกัด และผู้จะขอให้รับโอนจะต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งนั้น
ดังนั้น การตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอโอนจึงเป็นดุลยพินิจของผู้ดำเนินการคัดเลือกที่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครคัดเลือก ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล คือ
1.1 ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และดำรงตำแหน่งที่มีลักษณะงานเทียบเคียงได้กับตำแหน่งบริหาร
ที่จะรับโอน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ผู้สมัครดำรงตำแหน่งอยู่และลักษณะงานที่ปฏิบัติอยู่จริง เทียบกับคุณสมบัติและลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งบริหารที่ว่างนั้นและลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติจริง โดยอาจพิจารณาจากคำสั่งแต่งตั้งหรือการได้รับมอบหมายงานให้ปฏิบัติงานตามลักษณะงานที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของตำแหน่งที่คัดเลือกนั้น ประกอบด้วยได้
1.2 แนวทางการพิจารณาตำแหน่งผู้บริหารนั้น อาจพิจารณาจากคำบรรยายลักษณะงาน
ที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่ว่าได้รับผิดชอบทั้งแผนงาน แผนเงิน และแผนคน ของส่วนราชการนั้นประการใด
1.3 หนังสือรับรองจากส่วนราชการต้นสังกัด ว่าผู้นั้นมีลักษณะงานเทียบเคียงได้กับตำแหน่งบริหารที่จะรับโอน ให้พิจารณาจากหนังสือรับรองของส่วนราชการต้นสังกัด ซึ่งหมายถึงหนังสือรับรอง
ที่ออก โดยผู้มีอำนาจในการออกคำสั่งบรรจุแต่งตั้ง ตามที่กฎหมายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้นๆ กำหนด
1.4 การรับโอนตำแหน่งผู้บริหารนั้น ขอให้ ก.อบต.จังหวัด พิจารณาถึงโอกาสความก้าวหน้าของพนักงานส่วนตำบลสายงานผู้ปฏิบัติ ซึ่งจะต้องเติบโตในสายงานผู้บริหาร ดังนั้น การคัดเลือกตำแหน่งผู้บริหารจึงต้องมีขั้นตอนที่รัดกุมและไม่สร้างผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานส่วนตำบล
1.5 ตำแหน่งผู้บริหารถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรและได้รับการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนต้องทราบถึงสภาพพื้นที่ชุมชนด้วย ดังนั้น โดยหลักทั่วไปแล้ว การรับโอนข้าราชการประเภทอื่นมาดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ต้องมีการดำเนินการคัดเลือกที่เข้มงวด เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและความชำนาญการอย่างแท้จริง
2. การรับโอนข้าราชการประเภทอื่นมาดำรงตำแหน่งบริหาร อาจมีผลกระทบต่อสายทางความก้าวหน้าของพนักงานส่วนตำบล (career path) และประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล จึงเห็นควรกำหนดมาตรการดำเนินการ 2 มาตรการ ดังนี้
2.1 มาตรการเบื้องต้น
ให้แจ้ง ก.อบต.จังหวัด ทุกจังหวัดทราบและถือปฏิบัติตามแนวทางในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอโอนในตำแหน่งบริหารดังกล่าว
2.2 มาตรการถาวร
ให้นำประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ยกร่างกฎหมายระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่นและในการพิจารณาปรับปรุงมาตรฐานทั่วไปและหลักเกณฑ์การรับโอนข้าราชการประเภทอื่น มาดำรงตำแหน่งบริหารให้รัดกุมและเกิดประโยชน์ต่อ อบต. อย่างแท้จริง เช่น นำหลักการประเมินสมรรถนะเป็นเกณฑ์การประเมินด้วย เป็นต้น
3. อ.ก.อบต.โครงสร้าง ในการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีมีประเด็นพิจารณาว่า ตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเทียบเคียงได้กับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุขที่สามารถคัดเลือก เพื่อรับโอนมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลได้ตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ข้อ 21 (3) หรือไม่
เมื่อวิเคราะห์ตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัยกับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุข เห็นว่า เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติเหมือนกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยรับผิดชอบงานบริหารงานสาธารณสุขในฐานะหัวหน้าหน่วยงานโดยควบคุมทั้งแผนงาน แผนเงินและแผนคนของส่วนราชการ แม้ว่าปัจจุบัน ก.พ. จะจัดข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตำแหน่งสายงานและระดับตำแหน่งใหม่ โดยกำหนดเป็นตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย (นักวิชาการสาธารณสุข) ระดับชำนาญการ
มีหน้าที่หลักและลักษณะงานที่ปฏิบัติกำหนดขึ้นใหม่แล้วก็ตามแต่ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย
ยังคงถือว่าเป็นตำแหน่งที่เทียบเคียงได้กับตำแหน่งนักบริหารงานสาธารณสุข ดังนั้น จึงมีคุณสมบัติคัดเลือกเพื่อรับโอนมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบลได้
สำหรับประเด็นการพิจารณาหนังสือรับรองจากส่วนราชการต้นสังกัด ว่าผู้นั้นมีลักษณะงานเทียบเคียงได้กับตำแหน่งบริหารที่จะรับโอนนั้น เห็นว่า กรณีนี้จะต้องเป็นหนังสือรับรองที่ออกโดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะหัวหน้าส่วนราชการและมีอำนาจการบริหารงานบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
หลักเกณฑ์การโอนย้ายสับเปลี่ยนพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งบริหาร
ที่มีวาระการดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี มอบให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการยกร่างมาตรฐานทั่วไป เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการวาระการดำรงตำแหน่งบริหาร 4 ปี โดยกำหนดความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ของ
ก.อบต.จังหวัด ที่สามารถมีมติโอนสับเปลี่ยน กรณีเหตุจำเป็นหรือเหตุขัดแย้งได้ เพื่อประโยชน์ของทาง
ราชการต่อไป